Page 63 -
P. 63
ิ
ั
ิ
ุ
ิ
์
ื
ิ
โครงการพัฒนาหนังสออเล็กทรอนกสเฉลมพระเกียรต สมเด็จพระเทพรตนราชสดาฯ สยามบรมราชกุมาร ี
60
ตารางที่ 6 เปรียบเทียบลักษณะทางกายภาพของ medial femoral condyles (MFC) ที่ได้จากภาพ
MRI ในผู้ที่มีการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกข้อเข่าแบบ root tear ที่ posterior horn ของ medial
meniscus ในแต่ละมุมของการงอเข่า
ที่มา Chung JY, Song HK, Jung MK, et al. Larger medial femoral to tibial condylar dimension
may trigger posterior root tear of medial meniscus. Knee Surg Sports Traumatol Arthrosc.
2016;24(5):1448-1454. doi:10.1007/s00167-015-3618-4
หมอนรองกระดูกข้อเข่าที่ฉีกขาดจากอุบัติเหตุ จะมีอาการเจ็บในเข่าโดยทันทีทันใดร่วมด้วย มักมี
สาเหตุจาก กิจกรรมที่ทำให้เกิดแรงกระแทกลงบนเข่ามากๆ 2019 ESSKA meniscus consensus
รายงานว่า การฉีกขาดของ ACL แบบเฉียบพลัน ทำให้มีอุบัติการณ์การฉีกขาดของ meniscus ร่วมด้วย
57 - 80 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อแบ่งตามความมั่นคงของข้อเข่า พบว่า
➢ ผู้ที่มีข้อเข่ามั่นคง เมื่อเกิดการบาดเจ็บของเข่าเฉียบพลัน (acute traumatic injured
knee) จะมีการฉีกขาดของ meniscus ร่วมด้วย ประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์ โดยเป็นการฉีก
ขาดของ medial meniscus มากถึง 75 เปอร์เซ็นต์ การบาดเจ็บของเข่า ร่วมกับมี
เลือดออกภายในข้อเข่า จะมีการฉีกขาดของ meniscus ร่วมด้วย ประมาณ 15
เปอร์เซ็นต์ โดยเป็นการฉีกขาดที่ medial meniscus 76 เปอร์เซ็นต์ และ lateral
meniscus 24 เปอร์เซ็นต์
➢ ผู้ที่มีข้อเข่าไม่มั่นคง การฉีกขาดของ ACL พร้อมกับ MCL จะทำให้เกิดการฉีกขาดของ
meniscus ร่วมด้วย 32 – 71 เปอร์เซ็นต์ พบมากที่ lateral meniscus แต่ถ้ามีการฉีก
ขาดของ ACL อย่างเดียวจะทำให้เกิดการฉีกขาดของ meniscus ร่วมด้วย 16 – 82
Clinical Biomechanics of Knee ผศ.ดร.สิริพร ศศิมณฑลกุล