Page 29 -
P. 29

ุ
                                                 ์
                                              ิ
                                                                ิ
                                                    ิ
                                                                                ั
                                 ื
             โครงการพัฒนาหนังสออเล็กทรอนกสเฉลมพระเกียรต สมเด็จพระเทพรตนราชสดาฯ สยามบรมราชกุมาร                  ี
                                    ิ
                                                         26

               ทำให้ชั้น  superficial  zone  เกิดการยุบตัวมากที่สุด  (ภาพที่  8)  ภายใต้แรงกระทำที่เป็นแรงกด  โดยมี
               สัดส่วนของระยะการยุบตัวต่อความยาวเดิม  (compressive  strain)  ประมาณ  50%  ลึกลงมาในชั้น
               transitional zone จะยุบตัวน้อยลงหรือมี compressive strain ประมาณ 10-20% และในชั้น deep

               zone จะมี compressive strain น้อยมาก ประมาณ 0 - 5%

                                                                     ภาพที่ 8 บริเวณผิวเนื้อเยื่อกระดูกออน
                                                                                                   ่
                                                                     ผิวข้อแรงดันน้ำน้อย แต่แรงดันน้ำจะ

                                                                     มากที่สุดในชั้นลึก (deep zone) ที่ชั้น
                                                                     ผิวจึงเกิดการยุบตัว (compressive

                                                                     strain) ของเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนผิวข้อ

                                                                     ได้มากกว่า  50 % ส่วนในชั้น
                                                                     transition และ deep zone จะยุบตัว

               ลงจากแรงกดได้เพียงประมาณ 10 – 20 % และ 0 – 5 % ตามลำดับ
               ที่มา  Wong  M,  Carter  DR.  Articular  cartilage  functional  histomorphology  and

               mechanobiology:  a  research  perspective. Bone.  2003;33(1):1-13.  doi:10.1016/s8756-

               3282(03)00083-8


                       กระดูกอ่อนผิวข้อภายใต้แรงดึง
                                                                             ่
                          ี
                       ถ้ามแรงมาดึงกระดูกอ่อนผิวข้อในทิศทางขนานกับผิวของกระดูกออนผิวข้อ ในระยะแรกแรงที่มา
               ดึงเพียงเล็กน้อยสามารถทำให้กระดูกอ่อนผิวข้อยืดยาวขึ้นมาก เนื่องจากใย collagen ถูกดึงให้เหยียดตรง

               และมีการเรียงตัวใหม่ของ collagen network จึงทำให้เกิด non-linear toe region ในกราฟของความ
               เค้น (stress) และ ความเครียด (strain) ดังภาพที่ 9A-B ซึ่ง stress คือปริมาณของแรงกระทำต่อ

               พื้นที่หน้าตัด ส่วน strain คือความยาวที่เปลี่ยนแปลงไปจากความยาวเดิม   ถ้าให้แรงดึงกระดูกอ่อนผิวข้อ

               มากขึ้น จะทำให้ใย collagen ตึงมากขึ้นและต้านทานการดึงมากขึ้น โดยในช่วงนี้ ความสัมพันธ์ระหว่าง
               stress-strain จะเป็นเส้นตรง (linear region) ความชันของกราฟในช่วงนี้บอกถึงปริมาณความแข็ง

               (stiffness) หรือ ความสามารถในการต้านทานการเสียรูปของกระดูกอ่อนผิวข้อ เรียกว่า Young’s
               modulus ซึ่งขึ้นอยู่กับความแข็ง (stiffness) ของ collagen-PG network, ความหนาแน่นของใย

               collagen, ขนาดและการเรียงตัวของ collagen, ชนิดและปริมาณของ collagen cross-link, ความ

               แข็งแรงของแรงดึงของประจุ (ionic bonds) และแรงเสียดทานระหว่าง collagen กับ PG โดยปกติ
               Young’s modulus ของกระดูกอ่อนผิวข้อภายใต้แรงดึง จะมีค่าประมาณ 5-25 MPa ขึ้นอยู่กับความลึก

               ของชั้นเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนผิวข้อและทิศทางที่ให้แรงกระทำ ซึ่งเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนผิวข้อในชั้น




                                                  Clinical Biomechanics of Knee ผศ.ดร.สิริพร ศศิมณฑลกุล
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34