Page 25 -
P. 25

ิ
                                    ิ
                                              ิ
                                                 ์
                                                                ิ
                                 ื
             โครงการพัฒนาหนังสออเล็กทรอนกสเฉลมพระเกียรต สมเด็จพระเทพรตนราชสดาฯ สยามบรมราชกุมาร                  ี
                                                                                ั
                                                                                         ุ
                                                         22

                      Farooq M, Dan-Lantsman C, Belair J. Cartilage injury patterns in the professional
               athlete,  Journal  of  Cartilage  &  Joint  Preservation,  2023,  100148,
               https://doi.org/10.1016/j.jcjp.2023.100148.

                     Fujioka  R,  Aoyama  T,  Takakuwa  T.  The  layered  structure  of  the  articular

               surface. Osteoarthritis Cartilage. 2013;21(8):1092-1098. doi:10.1016/j.joca.2013.04.021


                       1.     lamina splendens ชั้นผิวของ cartilage ที่อยู่ส่วนนอกสุด ที่มีความแข็งแรงมาก จะ
               เป็นส่วนที่ไม่มี cell chondrocyte ชั้นนี้จะมีใย collagen ขนาดเล็กสานกันเป็นแผ่นแบนๆจำนวนมาก

               และ แผ่น collagen นี้ จะเรียงตัวขนานกับผิวของกระดูก เพื่อต้านทานแรงดึง และป้องกันการไหลของ

               hyaluronic acid ออกจาก cartilage ในชั้นนี้จะมี PG และน้ำน้อย ชั้นนี้มีคุณสมบัติยอมให้น้ำผ่านได้บ้าง
                       2.     tangential  zone  เป็นชั้นที่อยู่ลึก  ถัดลงมาจากผิวของ  cartilage  ในชั้นนี้จะมี  cell

               chondrocyte ที่มีรูปร่างแบนเรียวยาว วางตัวขนานกับผิวของกระดูก cell chondrocyte ที่อยู่ในชั้นนี้
               นั้น เป็น cell ที่ไม่ทำงาน (inactive) ใย collagen ที่อยู่ในชั้นนี้จะมีขนาดใหญ่ขึ้นและเรียงตัวขนานกับ

               ผิวของกระดูกแบบกระจัดกระจายและไม่หนาแน่น ในชั้นนี้จะมี PG และน้ำอยู่เป็นจำนวนมาก
                       3.     transitional zone เป็นชั้นที่หนาที่สุด จะมี chondrocyte ที่ active และเรียงตัวเป็น

                                           ่
               แท่งตามความลึกของเนื้อกระดูกออนผิวข้อ และ collagen เรียงตัวกระจัดกระจาย ใย collagen ในชั้น
               นี้จะมีลักษณะหนาและเรียงตัวไม่แน่นมาก โดยจะเรียงตัวขนานและตั้งฉากกับผิวกระดูก ในชั้นนี้มีน้ำอยู่
               เป็นจำนวนมาก มี PG ประมาณ 10-25% ของน้ำหนักแห้ง จึงเป็นส่วนที่ทำให้เกิด แรงดันน้ำที่เกิดจาก

               การอุ้มน้ำ (swelling pressure) ของ PG

                       4.     deep zone จะมี chondrocyte ที่ active วางตัวเป็นแท่งตั้งฉากกับผิวของกระดูก ใน
               ชั้นนี้จะมีใย collagen ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เรียงตัวเป็นรัศมีตั้งฉากจากผิวจนทะลุ tidemark เพื่อยึดกับ

               เนื้อกระดูก และมี PG น้อย แต่โมเลกุลของ PG มีขนาดใหญ่ ในขณะที่ปริมาณของน้ำในชั้นนี้จะลดลง
                       5.     tidemark เป็นขอบเขตที่เชื่อมต่อ cartilage ให้เข้ากับเนื้อกระดูก

                       6.     calcified  cartilage  จะมี  chondrocyte  ที่มีขนาดใหญ่  จุดเชื่อมต่อของชั้นนี้กับ

               subchondral bone จะมีผิวที่ขรุขระ ไม่เรียบ


                       คุณสมบัติทางกลของกระดูกอ่อนผิวข้อ

                       การเรียงตัวของ  collagen  และ  proteoglycan  ที่ไม่เหมือนกันในแต่ละชั้นของ  articular
               cartilage จึงทำให้เนื้อเยื่อ articular cartilage มีคุณสมบัติทางกลในแต่ละทิศทางที่ไม่เหมือนกัน โดยบน

               ชั้นผิว  ที่มีใย  collagen  หนาแน่น  และสานกันเป็นแผ่น  collagen  วางตัวขนานกับผิวกระดูก  แต่มี
               proteoglycan น้อย จึงทำให้ articular cartilage ทนต่อแรงดึงในแนวขนานกับผิวกระดูกมาก แต่ทนแรง



                                                  Clinical Biomechanics of Knee ผศ.ดร.สิริพร ศศิมณฑลกุล
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30