Page 89 -
P. 89
์
ิ
ิ
ื
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
67
เกษตรกรรายย่อยสวนปาล์มส่วนใหญ่จึงมักมีขนาดเล็ก เกษตรกรขาดความรู้ในการจัดการสวนปาล์มและ
การจัดการเชิงพื้นที่อย่างถูกต้องทำให้มีการขยายการปลูกปาล์มในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม ขาดการวางแผนและ
แรงงานที่มีทักษะความรู้ความเขาใจดานการเก็บเกี่ยว ประสิทธิภาพของผลผลิตปาล์มน้ำมันอยู่ในระดบตำจาก
้
่
ั
้
พันธุ์ปาล์มน้ำมัน และราคาผลปาล์มสดทไม่แน่นอน 2. ปัญหาของผู้ประกอบการลานเท (ต้นน้ำ) จากการท ี่
ี่
ปริมาณผลผลิตมีจำกัดทำให้ตลาดการรับซื้อปาล์มน้ำมันมีการแข่งขันค่อนข้างสูง ขาดการปรับราคาการรับซื้อ
ปาล์มตามคุณภาพของปาล์ม การใส่น้ำ/สาดทราย/บ่มปาล์ม ของลานเททำให้ได้ผลผลิตปาล์มที่ไม่ได้คุณภาพ
์
ิ
การบริหารจัดการลานเทไม่ได้มาตรฐานและขาดหน่วยงานที่ดูแลรับผดชอบ ข้อจำกัดของการจัดจำหน่ายปาลม
ุ
ี่
ี่
้
ให้กับโรงงานสกัด ประกอบกับการทลานเทต้องรับซื้อปาล์มน้ำมันทยังไม่ได้คณภาพและค่าใชจายทเพิ่มขึ้นจาก
ี่
่
ค่านายหน้าตัดปาล์ม 3. ปัญหาของโรงงานอุตสาหกรรมต่อเนื่อง (โรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม โรงงานแปรรูปปาล์ม
ี่
น้ำมัน) จากการทมีการแข่งขันค่อนข้างสูงเพราะปริมาณปาล์มดิบที่ป้อนเข้าสู่โรงงานมีไม่เพียงพอและโรงงาน
สกัดมีมากจนเกินไป การขาดการวางแผนด้านความเสี่ยงจากราคา เทคโนโลยีการสกัดน้ำมันปาล์มยังไม่ทันสมัย
หรือยังไม่เหมาะสม และยังขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสินค้าคงคลังน้ำมันปาล์ม และ 4. ปัญหาของ
โครงสร้างสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม เนื่องจากขาดหน่วยงานควบคุมดูแลจัดการเกี่ยวกับ
ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างเป็นระบบ ทสามารถควบคุมดูแลปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มได้ทั้งระบบ
ี่
เช่นเดียวกับคณะกรรมการน้ำมันปาล์มของมาเลเซีย (Malaysian Palm Oil Board, MPOB) ผนวกกับการขาด
การรวมศูนย์ของข้อมูลด้านปาล์มน้ำมัน และขาดการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องของปาล์มที่สร้างมูลค่าเพิ่ม
(สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม, 2558)
เช่นเดียวกับ รศ.ดร. สุธัญญา ทองรักษ์ และ ผศ.ดร. สิริรัตน์ เกียรติปฐมชัย จากสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
เกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ได้กล่าวว่า แม้ว่าอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและ
น้ำมันปาล์มของไทยจะมีการพัฒนามาประมาณ 50 ปีแล้ว แตยังคงมีปัญหาสำคัญหลายเรื่อง ทั้งในส่วนของ
่
การผลิตของเกษตรกรซึ่งถือว่าเป็นต้นน้ำ การแปรรูปกลางน้ำ และการตลาดปลายน้ำ รวมทั้งปัญหาจาก
นโยบายรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรรายย่อยที่ต้องเผชิญกับปัญหาหลัก เช่น ความผันผวนและตกต่ำของ
ราคาผลผลิต ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ต่ำ และต้นทุนการผลิตสูงกว่าที่ควรจะเป็น เป็นต้น ซึ่งหากปัญหาดังกล่าวนี้
ไม่ได้รับการแก้ไขจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเงินของเกษตรกรในระยะยาว
(สุธัญญา และสิริรัตน์, 2558)
่
นอกจากนี้ ความเห็นเกี่ยวกับปัญหาของอุตสาหกรรมดังกลาว ยังสอดคล้องกับความเห็นของธนาคารแห่ง
ประเทศไทย ที่มีการวิเคราะห์จุดอ่อนที่สำคัญของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันไทยว่า ผลปาล์มมีอัตราน้ำมันอยู่ใน
ระดับต่ำ ผลผลิตต่ำ และต้นทุนการผลิตสูง เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นรายย่อย ขาดความรู้ความเข้าใจใน
ิ
การบริหารจัดการที่ดี ตั้งแต่การเลือกพันธุ์ปาล์มให้เหมาะสมกับพื้นที่ การจัดการสวน การให้ปุ๋ย การบำรุงดนท ี่
ถูกต้อง รวมถึงการบริหารจัดการน้ำที่ดี และการเก็บเกี่ยวผลปาล์มที่มีคุณภาพ (พวงเพชร, 2559)
้
้
ส่วนนักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การคาสินคาเกษตร สรุปปัญหาและ
อุปสรรคสินค้าน้ำมันปาล์มของไทยไว้ 2 ด้าน คือ 1. ด้านการผลิต ที่ยังขาดแคลนพันธุ์ปาล์มทด เนื่องจากพันธุ์
ี่
ี
ปาล์มน้ำมันที่ปลูกจำเป็นต้องใช้พันธุ์ลูกผสมที่ให้ผลผลิตสูง ได้แก่ เทเนอรา (Tenera) ซึ่งประเทศไทยต้อง