Page 8 -
P. 8
ื
ิ
์
ิ
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
vi
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดกลุ่มกลยุทธ์การดำรงชีพของครัวเรือนชนบทจากรายได้และ
ทรัพย์สินด้วยวิธี Latent-class cluster analysis; 2) จัดอันดับกลยุทธ์จากรายได้ด้วยวิธี Stochastic
dominance analysis; 3) ศึกษาพลวัตการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์โดยใช้ Transition matrix; 4) วิเคราะห์
ปัจจัยที่ส่งผลต่อรูปแบบกลยุทธ์โดยใช้แบบจำลอง Multinomial logistic regression; 5) วิเคราะห์ปัจจัย
ที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์โดยใช้แบบจำลอง Ordered logistic regression ข้อมูลที่ใช้ใน
การศึกษาเป็นข้อมูลครัวเรือนแบบเก็บซ้ำจากฐานข้อมูล The Townsend Thai Project ตั้งแต่ปี พ.ศ.
2540 ถึง 2560 ผลการศึกษาพบว่ากลยุทธ์การดำรงชีพจากดัชนีทรัพย์สินผสมร่วมได้ทั้งสิ้นจำนวน 6 กล
ยุทธ์ โดยครัวเรือนในกลุ่มกลยุทธ์ที่ 1-3 มีรายได้สูงถึงปานกลาง ขณะที่กลยุทธ์ที่ 4-6 มีรายได้ต่ำ
ครัวเรือนในกลุ่มกลยุทธ์รายได้สูงมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์มากกว่ากลุ่มรายได้ต่ำ และครัวเรือนส่วนมากมี
การเลื่อนอันดับกลยุทธ์รูปแบบเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ปัจจัยที่ส่งผลต่อความน่าจะเป็นของรูปแบบ
กลยุทธ์ ได้แก การทำเกษตรเป็นอาชีพหลักของหัวหน้าครัวเรือน ระดับการศึกษาสูงสุดและการมีตำแหน่ง
่
ในหมู่บ้านหรือตำบลของสมาชิกครัวเรือน ขนาดที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ การเช่าและปล่อยเช่าที่ดิน และ
สัดส่วนสมาชิกครัวเรือนที่มีสิทธิประกันสังคม ปัจจัยที่ส่งผลบวกต่อการเลื่อนอันดับกลยุทธ์ ได้แก่ ขนาด
ที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ การกู้ยืมโดยอาศัยบุคคลอื่นค้ำประกัน การใช้เงินกู้ในกิจกรรมทางการเกษตรและเพอ
ื่
ซื้อทรัพย์สินที่สามารถใช้สร้างรายได้ ขณะที่ปัจจัยที่ส่งผลลบต่อการเลื่อนอันดับกลยุทธ์ ได้แก่ การกู้ยืม
ระยะสั้น ความผันผวนของรายได้จากการผลิตและตลาดสินค้าเกษตร การมีหัวหน้าครัวเรือนเป็นเพศหญิง
ั
และระดับการศึกษาสูงสุดของสมาชิกครัวเรือน การเพิ่มศกยภาพครัวเรือนเพอเลื่อนสู่กลยุทธ์อนดับสูงขึ้น
ั
ื่
จำเป็นต้องอาศัยการส่งเสริมและยกระดับคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่น เพิ่มกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในการ
ครอบครองที่ดิน ส่งเสริมการลงทุนในที่ดินเกษตร เพิ่มความหลากหลายในการผลิต มีกลไกในการการ
กำกับและติดตามการใช้เงินกู้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การกู้ยืมอย่างมีประสิทธิภาพ และยกระดับ
ความสามารถในการฟื้นตัวของครัวเรือนเมื่อต้องเผชิญกับความผันผวนของรายได้ที่รุนแรง
คำสำคัญ: กลยุทธ์การดำรงชีพ พลวัตการดำรงชีพ การเลื่อนอันดับกลยุทธ์การดำรงชีพ ครัวเรือนชนบท
ความยากจนในชนบท การจัดอันดับรายได้ภายใต้ความเสี่ยง การวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก
การวิเคราะห์จัดกลุ่ม ข้อมูลแบบเก็บซ้ำ แบบจำลองการถดถอยแบบมัลติโนเมียลลอจิสติก
แบบจำลองการถดถอยลอจีสติกเชิงอันดับ