Page 5 -
P. 5
์
ิ
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ื
ิ
iii
แบบ Markov latent class ขั้นที่ 4 ทำการจัดอันดับกลยุทธ์จากรายได้รวม (ต่อจำนวนสมาชิกใน
ครัวเรือนเทียบเท่าผู้ใหญ่) ภายใต้ความเสี่ยง โดยใช้วิธี Stochastic dominance analysis ขั้นที่ 5
เปรียบเทียบพลวัตการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ข้ามช่วงเวลาของแต่ละกลุ่มกลยุทธ์ โดยใช้ Transition matrix
ขั้นที่ 6 วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อโอกาสของผลลัพธ์ที่ครัวเรือนจะยึดกลยุทธ์ใดในการดำรงชีพ โดยใช้
แบบจำลอง Multinomial logistic regression ขั้นที่ 7 วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อโอกาสในการเลื่อน
อันดับกลยุทธ์ของครัวเรือนข้ามช่วงเวลา โดยใช้แบบจำลอง Ordered logistic regression
ผลการศึกษาสามารถแบ่งกลุ่มกลยุทธ์ในการดำรงชีพที่เหมาะสมได้ 6 กลยุทธ์ ดังนี้
- กลยุทธ์ที่ 1 ครัวเรือนรายได้สูง มีที่ดินจำนวนมาก ทรัพย์สินเกษตรมูลค่าสูง ทำเกษตร
หลากหลาย รายได้นอกภาคเกษตรสูง ธุรกิจขนาดใหญ่
- กลยุทธ์ที่ 2 ครัวเรือนรายได้ปานกลาง มีที่ดินจำนวนมาก ทรัพย์สินเกษตรมูลค่าปานกลาง
ทำเกษตรหลากหลาย รายได้นอกภาคเกษตรปานกลาง ธุรกิจขนาดใหญ่
- กลยุทธ์ที่ 3 ครัวเรือนรายได้ปานกลาง มีที่ดินปานกลาง ทรัพย์สินเกษตรมูลค่าต่ำ ทำเกษตร
หลากหลายโดยเน้นทำนา รายได้นอกภาคเกษตรปานกลาง พึ่งพาเงินโอน ธุรกิจขนาดกลาง
- กลยุทธ์ที่ 4 ครัวเรือนรายได้น้อย มีที่ดินปานกลาง ทรัพย์สินเกษตรมูลค่าต่ำ ทำเกษตร
หลากหลายโดยเน้นทำนา รายได้นอกภาคเกษตรต่ำ ธุรกิจขนาดกลาง
- กลยุทธ์ที่ 5 ครัวเรือนรายได้น้อย มีที่ดินน้อย ทรัพย์สินเกษตรมูลค่าต่ำ ทำเกษตรไม่
หลากหลาย รายได้นอกภาคเกษตรต่ำ มีรายได้จากการทำนาเป็นหลัก ธุรกิจขนาดเล็ก
- กลยุทธ์ที่ 6 ครัวเรือนรายได้น้อย มีที่ดินน้อย ทรัพย์สินเกษตรมูลค่าต่ำ ทำเกษตรไม่
หลากหลาย รายได้นอกภาคเกษตรต่ำแต่เป็นรายได้หลัก พึงพิงเงินโอน ธุรกิจขนาดเล็ก
การจัดอันดับกลยุทธ์จากรายได้ภายใต้ความเสี่ยงพบว่ากลยุทธ์ที่ 1 เป็นกลยุทธ์ที่ดีที่สุดและกล
ยุทธ์ที่ 6 ด้อยที่สุด รายได้ต่อจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเทียบเท่าผู้ใหญ่ของกลยุทธ์ที่ 1 มากกว่ากลยุทธ์ที่
6 กว่า 7 เท่า อันดับกลยุทธ์เรียงจากดีที่สุดไปด้อยที่สุดสำหรับครัวเรือนรับความเสี่ยงได้น้อย คือ กลยุทธ์
1, 2, 3, 4, 5, 6 ขณะที่อันดับกลยุทธ์สำหรับครัวเรือนที่รับความเสี่ยงได้ดีกว่า คือ กลยุทธ์ 1, 3, 2, 4, 5, 6
กลยุทธ์ที่ดีที่สุดสามอันดับแรกมีโอกาสอย่างน้อยร้อยละ 48 ที่จะมีรายได้เกินระดับรายได้ ณ ควอนไทล์ที่
3 ของกลุ่มตัวอย่าง (125,000 บาท) และมีโอกาสไม่เกินร้อยละ 9 ที่รายได้จะต่ำกว่าระดับรายได้ ณ ควอน
ไทล์ที่ 1 (37,910 บาท) ในทางตรงข้าม กลยุทธ์ที่ด้อยที่สุดสามอันดับสุดท้ายมีโอกาสไม่เกินร้อยละ 20 ที่
รายได้จะเกินระดับรายได้ ณ ควอนไทล์ที่ 3 แต่มีโอกาสมากถึงร้อยะ 58 ที่รายได้จะต่ำกว่าควอนไทล์ที่ 1
เมื่อพิจารณาพลวัตการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทุกๆ 4 ปี พบว่า ครัวเรือนในกลุ่มกลยุทธ์รายได้สูงมี
การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์มากกว่ากลุ่มรายได้ต่ำ (กลยุทธ์ที่ดีที่สุด 3 อันดับแรก เทียบกับกลุ่มที่ด้อยที่สุด 3
อันดับสุดท้าย) นอกจากนี้ เมื่อพิจารณารูปแบบการเลื่อนอันดับกลยุทธ์ใน 3 กรณี ได้แก่ เลื่อนสู่อันดับ
สูงขึ้น (Upward transition) ไม่เปลี่ยนแปลง (No transition) และเลื่อนสู่อันดับที่ด้อยลง (Downward
transition) พบว่า จำนวนครัวเรือนที่มีการปรับสู่กลยุทธ์ที่สูงขึ้นมีสัดส่วนใกล้เคียงกับครัวเรือนที่ไม่มีการ
ปรับกลยุทธ์ ขณะที่ครัวเรือนที่ปรับสู่กลยุทธ์ที่ด้อยลงมีสัดส่วนต่ำที่สุด (ร้อยละ 39.89, 35.96, 24.15
ตามลำดับ) โดยครัวเรือนมีแนวโน้มการเลื่อนอันดับกลยุทธ์รูปแบบเดียวกับที่การเลื่อนอันดับที่เคยเกิดขึ้น