Page 6 -
P. 6

ิ
                            ื
                                          ิ
                                                                  ิ
                               ิ
                                             ์
            โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                                                        iv

                   ในอดีต แสดงให้เห็นว่า ในขณะที่บางครัวเรือนสามารถยกระดับกลยุทธ์ในการดำรงชีพได้อย่างต่อเนื่อง

                   ตลอดช่วงเวลา 8 ปี แต่ก็มีครัวเรือนจำนวนมากที่นอกจากจะไม่สามารถยกระดับกลยุทธ์ของตนเองได้แล้ว
                   ก็ยังต้องเผชิญกับการถดถอยสู่กลยุทธ์ที่ด้อยลงอย่างต่อเนื่องแม้จะมีเวลาในการปรับตัวมากถึง 8 ปีก็ตาม
                   ดังนั้นครัวเรือนที่น่าเป็นกังวลมากที่สุดมีอย่างน้อย 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือครัวเรือนในกลุ่มกลยุทธ์การดำรง

                   ชีพที่ด้อยที่สุดสามอันดับสุดท้ายซึ่งมีรายได้น้อยและแทบไม่มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการดำรงชีพเลย
                   กลุ่มที่สองคือครัวเรือนที่มีการเลื่อนสู่กลยุทธ์อันดับต่ำลงเมื่อเวลาผ่านไป เพราะครัวเรือนกลุ่มนี้มีโอกาส
                   มากกว่ากลุ่มอื่นที่จะเผชิญกับการเลื่อนสู่กลยุทธ์ที่ด้อยกว่าเดิมในอดีต

                                                                 ิ่
                          โอกาสที่ครัวเรือนจะอยู่ในกลยุทธ์ที่ด้อยที่สุดเพมมากขึ้นหากหัวหน้าครัวเรือนทำเกษตรเป็นอาชีพ
                   หลัก ที่ดินทำกินไร้เอกสารสิทธิ์ มีการเช่าที่ดินเพื่อทำเกษตร รวมถึงการที่สมาชิกครัวเรือนมีตำแหน่งใน

                   ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่นและตำแหน่งทางสังคมอื่นๆ ขณะที่ระดับการศึกษาสูงสุดของสมาชิกและ
                   สัดส่วนสมาชิกครัวเรือนที่มีสิทธิประกันสังคมเพมโอกาสของกลยุทธ์ในกลุ่มรายได้ต่ำค่อนไปทางปานกลาง
                                                          ิ่
                   ครัวเรือนมีโอกาสอยู่ในกลุ่มกลยุทธ์รายได้สูงหากมีกรรมสิทธิ์หรือเอกสารสิทธิครอบครองที่ดิน และขนาด
                   ที่ดินปล่อยเช่าที่มากขึ้น เห็นได้ว่าการมีที่ดินทำกินที่มีเอกสารสิทธิ์ถูกต้องนั้นมีส่วนสำคัญต่อรูปแบบกล
                   ยุทธ์การดำรงชีพของครัวเรือน ขณะที่การทำเกษตรเป็นหลักอาจไม่ใช่กลยุทธ์การดำรงชีพที่เหมาะสมอีก

                   ต่อไป การคาดหวังให้ผู้นำชุมชนทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และถ่ายทอดรูปแบบกลยุทธ์การดำรง
                   ชีพที่เหมาะสมให้กับคนในชุมชนก็ไม่น่ามีประสิทธิภาพ เนื่องด้วยผู้นำชุมชนเองกลับมีโอกาสอยู่ในกลุ่ม
                   ยากจนมากกว่าครัวเรือนอื่นอีกด้วย

                          เมื่อพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลื่อนอันดับกลยุทธ์เมื่อเวลาผ่านไป พบว่าการมีเอกสารสิทธิใน
                                                                                                        ์
                                                               ั
                   ที่ดินทำกินส่งผลบวกต่อโอกาสในการเลื่อนสู่กลยุทธ์อนดับสูงขึ้น เช่นเดียวกับการกู้ยืมโดยอาศัยบุคคลอน
                                                                                                        ื่
                   ค้ำประกันและการใช้เงินกู้เพื่อการเกษตรหรือเพื่อซื้อทรัพย์สินที่สามารถนำไปใช้สร้างรายได้ ในทางตรง
                   ข้าม การกู้ยืมระยะสั้นลดโอกาสการเลื่อนสู่กลยุทธ์อันดับสูง เช่นเดียวกับความผันผวนของรายได้จากการ
                   ผลิตและราคาผลผลิตทางการเกษตร นอกจากนี้ การมีหัวหน้าครัวเรือนเป็นเพศหญิงและระดับการศึกษา

                   สูงสุดของสมาชิกครัวเรือนกลับเป็นปัจจัยลบต่อการเลื่อนกลยุทธ์สูงขึ้น ทั้งๆ ที่ปัจจัยทั้งสองมีส่วนลดความ
                   น่าจะเป็นของกลยุทธ์ที่ 6 ซึ่งเป็นกลยุทธ์ด้อยที่สุด และเช่นเดียวกัน สัดส่วนสมาชิกครัวเรือนที่มีสิทธิ
                   ประกันสังคมเป็นปัจจัยสำคัญต่อรูปแบบกลยุทธ์ในกลุ่มรายได้ปานกลางค่อนมาทางต่ำ แต่ไม่ส่งผลต่อ
                   โอกาสในการเลื่อนอันดับกลยุทธ์ของครัวเรือน

                          ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษามีอย่างน้อย 4 ประการ

                          ประการแรก ภาครัฐจำเป็นต้องทบทวนบทบาทของการศึกษาต่อการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่

                   ของครัวเรือนชนบท แม้ว่าระดับการศึกษาที่สูงขึ้นจะส่งผลให้ครัวเรือนมีโอกาสอยู่ในกลุ่มกลยุทธ์ที่มีรายได้
                   ปานกลางค่อนไปทางต่ำ แต่กลับลดโอกาสครัวเรือนในการเลื่อนสู่กลยุทธ์อันดับสูงขึ้น สังเกตได้ว่า
                   การศึกษาสูงสุดของสมาชิกครัวเรือนอยู่ที่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเท่านั้น เป็นไปได้ว่าสำหรับครัวเรือน

                   ชนบทแล้ว การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นกว่านี้มีต้นทุนที่สูง ขณะที่ผลตอบแทนหรือรายได้ที่จะเกิดขึ้นใน
                   อนาคตนั้นกลับไม่คุ้มค่า หรืออาจยังมองไม่เห็นถึงบทบาทของการศึกษาต่อโอกาสในการสร้างรายได้จาก
                   หลากหลายช่องท่อง จึงเป็นหน้าที่ของภาครัฐในการยกระดับคุณภาพและการเข้าการศกษาในชนบท
                                                                                          ึ
                          ประการที่สอง การเพิ่มกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในการครอบครองเพื่อใช้ประโยชน์ที่ดินจำเป็นต้อง
                   เกิดขึ้นควบคู่กับการพัฒนาผลิตภาพการใช้ที่ดิน เพราะแม้ว่าการทำเกษตรบนที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์จะลด
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11