Page 4 -
P. 4
์
ื
ิ
ิ
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ii
ชื่อโครงการ : พลวัตการดำรงชีพของครัวเรือนชนบทในประเทศไทย:
ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกกลยุทธ์และการเปลี่ยนผ่าน
Livelihood Dynamics in Rural Thailand:
Determinants of Households’ Livelihood Strategies and Transitions
ชื่อนักวิจัย : ผศ.ดร.อุชุก ด้วงบุตรศรี
Uchook Duangbootsee, PhD
สังกัด : ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ที่อยู่ : 50 ถ.งามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทรศัพท์ : 02-9428649-51 E-mail : uchook.d@ku.th
งบประมาณและระยะเวลาทำวิจัย :
- ได้รับงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบประมาณที่ได้รับ 762,000 บาท
- ระยะเวลาทำวิจัย ตั้งแต่ 15 กันยายน 2563 ถึง 14 กันยายน 2564
สรุปผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการดำรงชีพของครัวเรือนเกิดการผสมกิจกรรมที่ก่อให้เกิดรายได้รูปแบบต่างๆ ทั้งการ
เพิ่มความหลากหลายของกิจกรรมและความเข้มข้นของแต่ละกิจกรรม เมื่อเวลาผ่านไป ครัวเรือนก็จะมี
การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการดำรงชีพให้สอดคล้องกับปัจจัยแวดล้อม ณ เวลานั้นๆ การได้ทราบถึง
ประเภทของกลยุทธ์ในการดำรงชีพของครัวเรือน ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญต่อการกำหนดกลยุทธ์ และพลวัต
การเปลี่ยนแปลง ล้วนมีความจำเป็นอย่างมากต่อการกำหนดนโยบายเพื่อแก้ปัญหาความยากจนในชนบท
ซึ่งจำเป็นต้องพิจารณาให้ลึกถึงระดับกลุ่มย่อยของครัวเรือน
ื่
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพอจัดกลุ่มกลยุทธ์การดำรงชีพของครัวเรือนชนบทจากแหล่งรายได้และ
ทรัพย์สิน จัดอันดับกลยุทธ์จากรายได้ภายใต้ความเสี่ยง และวิเคราะห์พลวัตการเปลี่ยนกลยุทธ์ ซึ่งนับเป็น
ครั้งแรกที่จะมีการศึกษาในประเด็นดังกล่าวในบริบทของครัวเรือนชนบทในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูล
ครัวเรือนแบบเก็บซ้ำ (Panel household data) จากฐานข้อมูล The Townsend Thai Project ซึ่งเก็บ
ข้อมูลครัวเรือนใน 4 จังหวัดของประเทศไทย ประกอบด้วย ลพบุรี ฉะเชิงเทรา บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ทั้งสิ้น
619 ครัวเรือน ต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 ถึง 2560 (ค.ศ.2000 ถึง 2017)
การวิเคราะห์ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 สร้างดัชนีทรัพย์สินผสมร่วม (Composite
asset index) จากรายได้ช่องทางต่างๆ และทรัพย์สินประเภทต่างๆ ขั้นที่ 2 ลดความสัมพันธ์ระหว่างดัชนี
ทรัพย์สินผสมร่วมให้เหลือเฉพาะองค์ประกอบหลักที่เป็นอิสระต่อกันและยังสามารถอธิบายตัวดัชนีเดิมได้
มากที่สุด โดยใช้วิธี Principal component analysis (PCA) ขั้นที่ 3 นำค่าองค์ประกอบหลักของแต่ละ
ครัวเรือนมาใช้เป็นปัจจัยในการจัดกลุ่มกลยุทธ์ในการดำรงชีพของครัวเรือนด้วยวิธี Cluster analysis