Page 7 -
P. 7

ิ
                                             ์
                                          ิ
                            ื
                               ิ
                                                                  ิ
            โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                                                         v

                   ความน่าจะเป็นที่ครัวเรือนจะอยู่กลุ่มกลยุทธ์ที่ด้อยที่สุด แต่บทบาทต่อการเลื่อนอันดับกลยุทธ์การดำรงชีพ

                   ให้สูงขึ้นนั้นยังไม่ชัดเจนหรือมีผลกระทบค่อนข้างน้อย เกษตรกรจำเป็นต้องลงทุนเพื่อพัฒนาระบบการ
                   ผลิตให้หลากหลายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังจะเห็นได้ว่าครัวเรือนในกลุ่มรายได้สูงมีการลงทุนใน
                   ทรัพย์สินทางการเกษตรในระดับสูงและมีความหลากหลายในการผลิต แต่หากการส่งเสริมให้เกษตรกรมี

                   ที่ดินทำกินที่มีเอกสารสิทธิ์รับรองทำได้ยากหรือทำได้อย่างจำกัด ภาครัฐอาจต้องพจารณากลไกที่สามารถ
                                                                                      ิ
                   สร้างแรงจูงใจให้เกิดการลงทุนเพื่อยกระดับการผลิตในที่ดินเช่าเพราะครัวเรือนยากจนส่วนมากไม่มีที่ดิน
                   เป็นของตนเองและจำเป็นต้องอาศัยการเช่าที่ดินทำเพอทำกิน
                                                               ื่
                          ประการที่สาม การกำกับและติดตามการใช้เงินกู้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การกู้ยืมจะช่วยให้
                   ครัวเรือนสามารถยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจได้ในระยะยาว เนื่องจากพบว่าครัวเรือนที่มีการนำเงินกู้ไป

                   ใช้ในกิจกรรมทางการเกษตรหรือซื้อทรัพย์สินที่สามารถนำไปสร้างรายได้จะมีโอกาสเลื่อนอันดับสู่กลยุทธ์ที่
                   สูงขึ้นได้มากขึ้นกว่าครัวเรือนที่ใช้เงินกู้เพอวัตถุประสงค์อื่นหรือผิดวัตถุประสงค์ นอกจากนี้ แม้ว่าครัวเรือน
                                                    ื่
                   สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ระยะสั้นได้คอนข้างทั่วถึงซึ่งส่วนมากมักอาศัยการใช้บุคคลอื่นค้ำประกันเงินกู้ แต่
                                                  ่
                   หนี้สินระยะสั้นนี้เองกลับส่งผลลบต่อโอกาสในการเลื่อนอันดับกลยุทธ์การดำรงชีพ ปัญหาหนี้สินระยะสั้นนี้
                   จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในอนาคต เพราะเกษตรกรอาจสามารถเลื่อนสู่กลยุทธ์อันดับที่ดีขึ้นหาก

                   สามารถเข้าถึงเงินกู้เพื่อการเกษตรระยะยาวที่มีวงเงินสูง เพื่อนำไปใช้ในการลงทุนด้านเครื่องจักรกล
                   เทคโนโลยีทางการเกษตร และการพัฒนาที่ดิน แต่อุปสรรคที่สำคัญก็ยังคงเป็นเรื่องของหลักทรัพย์ค้ำ
                                                    ี
                   ประกัน เนื่องจากเกษตรกรรายย่อยไม่มที่ดินมากพอที่จะนำมาใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ดังนั้นจึงควรมี
                   การพิจารณาประเด็นการออกเอกสารสิทธิที่ดินเพื่อใช้ในการทำธุรกรรมทางการเงินควบคู่ไปด้วย

                          ประการที่สี่ ความเสี่ยงในการผลิตและความผันผวนของรายได้ในภาคเกษตรเป็นอุปสรรคสำคัญ
                   ต่อการยกระดับรายได้ครัวเรือน จำเป็นต้องมีมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาภัยธรรมชาติและราคาผลผลิต
                   ตกต่ำ ซึ่งควรประกอบด้วยมาตรการทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อเสริมสร้างความสามารถใน
                   การฟื้นตัวของครัวเรือนภายหลังวิกฤตหรือความผันผวนของรายได้ที่รุนแรง มาตรการระยะสั้นควรเน้นที่

                   การให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีเพื่อให้ครัวเรือนยังคงสามารถดำรงชีวิตตามปกติต่อไปได้ เช่น
                   ดอกเบี้ยพิเศษหรือเงินกู้ฉุกเฉิน เงินเยียวยาจากภัยพิบัติ ระบบการจัดการน้ำในวิกฤตภัยแล้งหรือน้ำท่วม
                   เป็นต้น มาตรการระยะกลางควรเน้นส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
                   รวมถึงการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการตัดสินใจเนื่องด้วยสภาพแวดล้อมในการผลิตของแต่ละพื้นที่

                   อาจมีความแตกต่างกันสูง เพื่อให้เกิดการปรับตัวของเกษตรกรซึ่งสามารถนำไปสู่การสร้างรายได้ที่
                   หลากหลายและมั่นคง ขณะเดียวกันภาครัฐก็จำเป็นต้องลดมาตรการให้ความช่วยเหลือที่เป็นปัจจัย
                   ขัดขวางการปรับตัวของเกษตรกร มาตรการระยะยาวมุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนรูปแบบการผลิตและการ

                   ดำรงชีพให้ทันยุคสมัยซึ่งครอบคลุมการวางแผนการผลิตในรูปแบบเกษตรอัจริยะ การนำข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
                   มาใช้ในการคาดคะเนความเสี่ยงเพื่อประกอบการวางแผนการผลิต รวมถึงการพัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
                   เพื่อนำมาถ่ายทอดและใช้ประโยชน์
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12