Page 9 -
P. 9

์
                                          ิ
                            ื
                               ิ
                                                                  ิ
                                                                              ิ
            โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                                                        ช
                                                        บทคัดย่อ



                        การวิจัยเรื่องนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในบริบทของความปกติใหม่หลังจากการแพร่ระบาด

               ของ Covid-19 มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความต้องการและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว 2. เพื่อวิเคราะห์

               และค้นหาองค์ความรู้เชิงวิชาการในการพัฒนาบุคลากรและแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร 3. เพื่อค้นหา
               ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 4. เพื่อค้นหานวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในบริบทของความปกติใหม่หลังจาก

               การแพร่ระบาดของ Covid-19 มีวิธีการดำเนินงานด้วยการวิจัยแบบผสมผสานวิธีแบบหลายขั้นตอน แบ่งเป็น
               4 ระยะ ผลการวิจัย พบว่า 1. ด้านความต้องการและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

               โดยนักท่องเที่ยวกลุ่มวัยทำงานที่เลือกทองเที่ยวในวันหยุดสุดสัปดาห์ในพื้นที่ไม่ห่างไกล เดินทางสะดวก ใช้จ่าย
                                                ่
               ไม่มากสำหรับการท่องเที่ยวต่อครั้ง มีสภาพแวดล้อมที่สวยงาม มีเจ้าหน้าที่ให้บริการด้วยความสุภาพเป็นมิตร
               และมีร้านอาหารและเครื่องดื่มที่มีคุณภาพ 2. ด้านองค์ความรู้เชิงวิชาการในการพัฒนาบุคลากรและแหล่ง

               ท่องเที่ยวเชิงเกษตร สำหรับผู้ประกอบการในแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ การจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร การพฒนา
                                                                                                      ั
               แหล่งท่องเที่ยวจากการปรับตัว การจัดการความรู้เกษตรทั้งพืชและสัตว์ เทคโนโลยีทางการเกษตร การจัด
               สถานที่ การผสมผสานระหว่างศิลปะกับภูมิสถาปัตย์ อุตสาหกรรมบริการและการจัดการธุรกิจครบวงจร

               มาตรฐานที่พักและความปลอดภัย การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยว การพัฒนาบุคลากร การ

               ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง 3. ด้านข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เป็น
               องค์ประกอบที่เสนอต่อหน่วยงานภาครัฐทั้งระดับท้องถิ่นถึงระดับประเทศ ที่มีความสอดคล้องกบนโยบายและ
                                                                                             ั
               แผนพัฒนาของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ปัจจัยภายในระดับมหภาค (Internal-Macro Factors)
               เป็นการวิเคราะห์บทบาทและหน้าที่การบริหารของหน่วยงานภาครัฐทุกระดับ รวมถึง ความคุ้มค่าของการ

               บริหารแต่ละส่วนงาน ปัจจัยภายในระดับจุลภาค (Internal-Micro Factors) เป็นการวิเคราะห์ความเป็นไปได้
               ตามองค์ประกอบการสนับสนุนการบริหารงานของหน่วยงานภาครัฐต่อธุรกิจภายในประเทศ ปัจจัยภายนอก

               ระดับมหภาค (External-Macro Factors)  เป็นการวิเคราะห์การบริหารปัจจัยพื้นฐานตามนโยบายของ

               หน่วยงานภาครัฐที่สนับสนุนการดำเนินธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ปัจจัยภายนอกระดับจุลภาค (External-
               Micro Factors) เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารธุรกิจในอุตสาหกรรมบริการสำหรับการท่องเที่ยว

               เชิงเกษตร และปัจจัยการตัดสินใจในการลงทุน (Decision Making to Invest) เป็นการประเมินสถานการณ์

               การดำเนินธุรกิจจากการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 4. นวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในบริบทของความ
               ปกติใหม่หลังจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 เป็นการปรับตัวในการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของ

               นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ และหน่วยงานภาครัฐ จึงเป็นที่ค้นพบเกี่ยวกับนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่

               มีความหลากหลายในประเทศไทย ได้แก่ การเรียนรู้การเกษตร ผสมผสาน ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ฟาร์มประมง สวน
               ดอกไม้ แบบสวนดอกไม้กับศิลปะ เทคโนโลยีการเกษตร ทุ่งนาข้าว นาเกลือ สวนมะพร้าว พื้นที่สูง เชิงเกษตร

               และที่พัก ผสมผสานเชิงจิตวิญญาณ สวนสตอเบอรี่ และจำลองสถานที่ท่องเที่ยว


               คำสำคัญ: นวัตกรรม, การท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงเกษตร, การแพร่ระบาด, โคโรนาไวรัส 2019
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14