Page 7 -
P. 7
ิ
ิ
ื
์
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จ
เกษตรกรที่สามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ตลอดเวลา (เช่น สถานการณ์ของ
COVID-19) และการกลับสู่บ้านเกิด เป็นการทำธุรกิจการเกษตรของเกษตรกรไทยส่งผลให้มีอาชีพเกษตรกร
ส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาลูกหลานเพื่อกลับมาช่วยในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
2.4.4 นวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในบริบทของความปกติใหม่หลังจากการแพร่ระบาดของ
Covid-19 เป็นการปรับตัวในการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ และหน่วยงาน
ภาครัฐ แต่ละส่วนให้ความสำคัญในการช่วงเหลือซึ่งกันและกัน จึงเป็นที่ค้นพบเกี่ยวกับนวัตกรรมการท่องเที่ยว
เชิงเกษตรที่มีความหลากหลายในประเทศไทย ได้แก่ นวัตกรรมการท่องเที่ยวแบบการเรียนรู้การเกษตร เป็น
แหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการเกษตรในแหล่งท่องเที่ยว เช่น สวนพืชผักสวนครัว สวนพืชไร่ สวนผลไม้ เป็นต้น
นวัตกรรมการท่องเที่ยวแบบผสมผสาน เป็นแหล่งเรียนรู้การเกษตรวิถีไทยผสมผสานกับนวัตกรรมสมัยใหม่
เช่น จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม เป็นต้น นวัตกรรมการท่องเที่ยวแบบฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เน้นดูสัตว์เลี้ยงนานาชนิด
ประเภทสัตว์เลี้ยง เช่น สวนผักออร์แกนิค สวนกระบองเพชร เป็นต้น นวัตกรรมการท่องเที่ยวแบบฟาร์ม
ประมง เน้นการทานอาหารทะเลจากฟาร์มพร้อมชมบรรยากาศวิถีชาวประมง เช่น แหล่งท่องเที่ยวแนว
ชายทะเลตะวันออก เป็นต้น นวัตกรรมการท่องเที่ยวแบบสวนดอกไม้ เน้นการปลูกดอกไม้ด้วยศิลปะการจัด
แต่งสวน เช่น สวนดอกไม้จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น นวัตกรรมสวนดอกไม้กับศิลปะ เน้นการเทคนิคด้านภูมิส
ถาปัตย์ที่ผสมผสานท้องถิ่นแหล่งท่องเที่ยว เช่น จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น นวัตกรรม
การท่องเที่ยวแบบเทคโนโลยีการเกษตร เป็นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาสร้างจุดสนใจ เช่น การสร้างฟาร์ม
โดยใช้ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ การใช้โรงเรือนกรีนเฮาส์ (Greenhouse) เป็นต้น นวัตกรรมการท่องเที่ยว
แบบทุ่งนาข้าว เป็นลักษณะการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามวิถีชีวิตเกษตรกรไทย เช่น ร้านอาหารกลางทุ่ง
นา ที่พักกลางทุ่งนา นาข้าวหลากสี เป็นต้น นวัตกรรมการท่องเที่ยวแบบนาเกลือ เป็นลักษณะเป็นหนึ่งเดียว
ของประเทศไทยตามวิถีชาวนาเกลือ เช่น นาเกลือจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นต้น นวัตกรรมการท่องเที่ยวแบบ
สวนมะพร้าว เป็นการจัดการท่องเที่ยวที่นำเสนอวิถีชีวิตของสวนมะพร้าวน้ำหอม เช่น สวนมะพร้าวน้ำหอม
สวนมะพร้าวเตาตาล เป็นต้น นวัตกรรมการท่องเที่ยวพื้นที่สูง เป็นการจัดการท่องเที่ยวที่มีบรรยากาศการ
ท่องเที่ยวเน้นธรรมชาติที่ราบสูงที่มามองทิวทัศระยะไกล เช่น สวนออกไม้บนดอยทางภาคเหนือ นาข้าวบน
ดอย เป็นต้น นวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและที่พก เป็นการผสมผสานนวัตกรรมการเกษตรและที่พกที่มี
ั
ั
ที่พักที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ที่พักแบบโดมบนดอย ที่พักแบบกระเตงชายทะเล ที่พักมุงจากกลางนา เป็นต้น
นวัตกรรมการท่องเที่ยวผสมผสานเชิงจิตวิญญาณ เน้นจิตสัมผัสที่ทำให้รู้สึกจิตใจเฉพาะอย่าง เช่น ร้านอาหาร
กลางนาแบบบรรยายใกล้วัด เป็นต้น นวัตกรรมการท่องเที่ยวแบบสวนสตอเบอรี่ เป็นการนำเสนอการ
เพาะปลูกสตอเบอรี่ในพื้นที่ราบ เช่น สวนสตอเบอรี่ที่ภาคกลาง เป็นต้น และนวัตกรรมการท่องเที่ยว
แบบจำลองสถานที่ท่องเที่ยว เป็นการตกแต่งสถานที่ในรูปแบบจำลองแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ต่างภูมิภาค เช่น
สวนมะพร้าวน้ำหอมที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น