Page 5 -
P. 5
ิ
ิ
ื
์
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ค
2.2.4 เพื่อค้นหานวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในบริบทของความปกติใหม่หลังจาก
การแพร่ระบาดของ Covid-19
2.3 รายละเอียดเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย
วิธีการดำเนินงานด้วยการวิจัยแบบผสมผสานวิธีแบบหลายขั้นตอน (Multiphase Mixed
Methods Research) ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Methods Research) การวิจัย
เชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ระยะที่ 2 การวิจัยเชิง
คุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง ระยะที่ 3 การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยแบบสัมภาษณ์ในการ
สนทนากลุ่ม และระยะที่ 4 การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โดยทั้ง 4 ระยะใช้กลุ่ม
ตัวอย่าง ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทย ผู้ประกอบการ เชี่ยวชาญด้านการประกอบธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการ
และเจ้าหน้าที่ของรัฐ
2.4 รายละเอียดเกี่ยวกับผลการวิจัย
2.4.1 ด้านความต้องการและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
โดยนักท่องเที่ยวกลุ่มวัยทำงานที่เลือกท่องเที่ยวในวันหยุดสุดสัปดาห์ในพื้นที่ที่ใกล้เคียงที่พัก มีค่าใช้จ่าย
สำหรับการท่องเที่ยวไม่มากสำหรับการท่องเที่ยวต่อครั้ง ซึ่งนักท่องเที่ยวเลือกสถานที่ท่องเที่ยวมี
สภาพแวดล้อมที่สวยงาม สามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้โดยง่าย มีสถานที่เพื่อใช้พักผ่อนหย่อนใจบริเวณ
แหล่งท่องเที่ยว มีเจ้าหน้าที่ให้บริการด้วยความสุภาพเป็นมิตร และมีร้านอาหารและเครื่องดื่มที่มีคุณภาพที่
ดึงดูดใจนักท่องเที่ยว ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวคาดหวังจะได้รับจากการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร คือ
ได้พักผ่อนในบรรยากาศที่ดีและอากาศสดชื่น
2.4.2 ด้านองค์ความรู้เชิงวิชาการในการพัฒนาบุคลากรและแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ผู้ประกอบการทุกระดับในแหล่งท่องเที่ยวสามารถนำไปใช้ในการจัดการท่องเที่ยว
เชิงเกษตร เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว อีกทั้ง เป็นการพัฒนาแหล่ง
ท่องเที่ยวจากการปรับตัวและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องที่นำไปสู่การท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน โดยการ
จัดการความรู้เกษตรทั้งพืชและสัตว์ ที่เป็นองค์ความรู้ที่มีอยู่ทั้งในท้องถิ่นที่เป็นลักษณะเฉพาะ การนำ
เทคโนโลยีทางการเกษตรมาใช้ในการขยายพันธุ์พืชและการปลูกพืชเศรษฐกิจที่เป็นที่นิยม เช่น กระบองเพชร
พืชใบด่าง พืชไม้มงคล เป็นต้น การจัดสถานที่ที่เป็นนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ทางด้านเทคโนโลยีที่มีการผสมผสาน
ระหว่างศิลปะกับภูมิสถาปัตย์ สำหรับธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจด้านที่พัก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรม
บริการ สามารถจัดการธุรกิจครบวงจรให้เป็นไปตามมาตรฐานที่พักและความปลอดภัย เพื่อสร้างความเชื่อมั่น
ให้กับนักท่องเที่ยว สำหรับธุรกิจที่มีความพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ควรต้องเพิ่มทักษะการใช้
ภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวที่เน้นคำศัพท์ใช้ง่ายกับชาวต่างชาติที่มาจากหลากหลายประเทศ
พร้อมทั้ง การเรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม นอกจากการนี้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ
Covid-19 เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องเรียนรู้จากประสบการณ์การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เพื่อวางแผนการประกอบธุรกิจ ทั้งด้านการเงิน ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านบุคลากร ด้านเทคโนโลยี และด้านความ
ปลอดภัย ให้พร้อมรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง