Page 6 -
P. 6
ื
์
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ิ
ิ
ง
2.4.3 ด้านข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เป็นองค์ประกอบที่เสนอ
ต่อหน่วยงานภาครัฐทั้งระดับท้องถิ่นถึงระดับประเทศ ที่มีความสอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาของ
หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
1. ด้านปัจจัยภายในระดับมหภาค (Internal-Macro Factors) มีองค์ประกอบเกี่ยวกับ ความ
ได้เปรียบในการเป็นเจ้าของที่ประเทศไทยมีทรัพยากรที่มีอุดมสมบูรณ์ ทั้งธรรมชาติ ที่ดิน น้ำ และสภาพ
อากาศที่เหมาะสม สถานที่ตั้งของประเทศไทยมีลักษณะที่เหมาะสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
กระบวนการจัดตั้งธุรกิจที่หน่วยงานภาครัฐต้องให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการให้สามารถเข้าถึงและเข้าใจง่ายให้
ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นและสามารถบริหารการเงินให้เกิดความคล่องตัวในการชำระ
หนี้ให้กับสถาบันการเงินและจ่ายภาษีให้กับรัฐได้
2. ปัจจัยภายในระดับจุลภาค (Internal-Micro Factors) มีองค์ประกอบเกี่ยวกับ ลักษณะพิเศษของ
พื้นที่ที่ควรประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ซึ่งแต่ละภูมิภาคมีความโดดเด่นของอาชีพเกษตรกรรมท ี ่
ั
แตกต่างกนและเป็นสถานที่ดึงดูดการท่องเที่ยว พร้อมในการพัฒนาความแตกต่างของแต่ละสถานที่ในภูมิภาค
เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวตามกระแสนิยมของนักท่องเที่ยว ซึ่งอาจสร้างความแตกต่างที่ทำให้เกิดการ
ลอกเลียนแบบได้ยาก โดยการจัดกลุ่มการท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่นของแต่ละพื้นที่ รวมทั้ง การจัดตั้งองค์กร
ตามความสามารถของผู้ประกอบการ ที่คำนึงถึงเงินทุนการจัดตั้ง รูปแบบการบริหาร และการจ้างงาน
3. ปัจจัยภายนอกระดับมหภาค (External-Macro Factors) มีองค์ประกอบเกี่ยวกับ นโยบาย
รัฐบาลในการสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ที่เป็นการสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐทั้งระดับ
ระดับประเทศสู่ระดับท้องถิ่น การเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศด้วยโครงการช่วยเหลือภาคการผลิต
ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ส่วนหนึ่งที่สนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเกิดจากระบบ
สังคม/ค่านิยม ที่เอื้อต่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เป็นค่านิยมของคนไทยที่ให้ความสนใจการท่องเที่ยวเชิง
เกษตร อีกทั้ง การนำเทคโนโลยีที่จำเป็นมาพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมที่
เอื้ออำนวยต่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงการปฏิบัติตามกฎหมายที่บังคับใช้
เกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
4. ปัจจัยภายนอกระดับจุลภาค (External-Micro Factors) มีองค์ประกอบเกี่ยวกับ การแข่งขัน
ระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในตลาด เป็นช่วงที่ผู้ประกอบการรายเดิมที่พัฒนาธุรกิจของตนเองให้
เหมาะสมมากขึ้น การเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่ในการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เป็นช่วงที่ผู้ประกอบการเปลี่ยน
วิถีการทำงานจากงานประจำเป็นงานที่เป็นเจ้าของเอง จึงเกิดการแข่งขันในตลาดมากยิ่งขึ้น อำนาจต่อรองของ
ซัพพลายเออร์ เป็นรูปแบบการจัดการของเกษตรกรเองที่เป็นไปตามสภาพของวิถีการดำรงชีวิตของท้องถิ่นแต่
ละท้องถิ่น อำนาจในการเลือกของนักทองเที่ยว เป็นการที่นักท่องเที่ยวมองหาทางเลือกในการท่องเที่ยวจาการ
่
ที่แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรต่างแข่งขัน และสินค้าทดแทนการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เป็นการจัดการแหล่ง
ท่องเที่ยวกึ่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เป็นทางเลือกที่ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว
5. การตัดสินใจในการลงทุน (Decision Making to Invest) มีองค์ประกอบเกี่ยวกับ การรับรู้ความ
เสี่ยง เป็นการรับรู้ของเกษตรกรในการตัดสินใจต่อความความเสี่ยง การรับรู้ผลประโยชน์ เป็นการรับรู้ที่
เกษตรกรไม่ได้เน้นความสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร การปรับตัว เป็นการรับรู้และการปฏิบัติของ