Page 138 -
P. 138
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ประมงน้ำจืดได้ดำเนินการที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยเรียกชื่อว่าประมงหมู่บ้าน ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับพื้นที่
อื่นๆ โดยมีการเข้าไปแนะนำของภาครัฐ เพื่อให้ชุมชนประมงได้เข้าใจบทบาทและการกำหนดกฎเกณฑ์
การใช้ทรัพยากรประมงของชุมชนร่วมกัน ทั้งนี้สมาชิกในชุมชนประมงมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อภาครัฐ แต่
ยังคงมีปัญหากับคนในชุมชนทั่วไปที่อาจจะไม่เข้าใจในประโยชน์ของการจัดการของประมงชุมชน (ดาร
ชาต์ และเกรียงศักดิ์ 2560)
6.6 แนวทางการจัดการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศไทย
จากปัญหาในด้านต่างๆ ของการทำประมงและการเพาะเลี้ยงสัตวน้ำของประเทศไทย แนวทาง
ในการแก้ไขปัญหานั้น ควรมีการกำหนดแนวทางในด้านนโยบายการจัดการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ทั้งนี้สิ่งที่เน้นนั้นจะคำนึงถึง ด้านเศรษฐกิจ (ด้านการค้า การเพิ่มมูลค่า ด้านการบริโภค) ด้านทรัพยากร
(ความยั่งยืนของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม) และด้านการสังคม (ด้านแรงงาน ชุมชน การรวมกลุ่ม)
แนวทางในการสร้างนโยบายการพัฒนาการประมงของประเทศ พ.ศ.2560-2569
การพัฒนาการประมงของประเทศ มีแนวทางการพัฒนาการประมงฯ 4 ด้าน ได้แก่ (1) การ
พัฒนาประมงในน่านน้ำ แบ่งเป็น 2 ส่วน ด้านการพัฒนาการประมงทะเลและ ด้านการพัฒนาการ
ประมงน้ำจืด (2) การส่งเสริม พัฒนา และแก้ไขปัญหาการประมงนอกน่านน้ำ (3) การพัฒนาการ
เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศ และ (4) การพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องด้านการประมงของประเทศ
(TDRI, 2560) ดังตาราง ที่ 6.1 โดยแนวทางด้านการพัฒนาการประมงในน่านน้ำ ส่วนของการประมง
ทะเลได้เน้นเรื่องการฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ การบริหารจัดการการทำประมงอย่างอย่างยืน การติดตาม
ควบคุม และเฝ้าระวังในขจัดการทำประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเชิงรุงอย่างต่อเนื่อง การลดปัญหา
การขาดแคลนแรงงานและการใช้แรงงานที่ถูกกฎหมาย สำหรับการประมงน้ำจืด เน้นการฟื้นฟู
ทรัพยากรสัตว์น้ำจืด เกิดความสมดุลในระบบนิเวศ สร้างชุมชนประมงท้องถิ่นเพื่อดูแลทรัพยากรสัตว์น้ำ
เร่งอนุรักษ์สัตว์น้ำจืดที่ใกล้จะสูญพันธ์ และสร้างความตะหนักในการใช้ทรัพยากรน้ำจืดและทำประมง
อย่างรับผิดชอบ การประมงนอกน่านน้ำ เน้นการป้องกันการทำประมงผิดกฎหมาย และส่งเสริมและ
พัฒนาผู้ประกอบการในการทำประมงนอกน่านน้ำ การพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เน้นด้านการเพิ่ม
ผลผลิต และการรักษาสภาพแวดล้อมและสิ่งแวดล้อมที่อาจจะกระทบต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้แก่
การส่งเสริมด้านการเพิ่มผลผลิตอย่างสมดุลและยั่งยืน การพัฒนาธุรกิจด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและ
ด้านการตลาด การพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องด้านการประมงของประเทศ เน้นการผลิตสินค้าที่มี
คุณภาพ มีความปลอดภัยด้านอาหาร ได้มาตรฐาน และสอดคล้องความต้องการของตลาด รวมทั้งเป็น
ผู้นำการค้าและการผลิตสินค้าประมงในตลาดโลก พัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องด้านการประมงได้อย่าง
ยั่งยืน (TDRI, 2560)
หน้า | 130