Page 136 -
P. 136

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว








                       ในรูปแบบมาตรการควบคุมด้านปัจจัยการทำประมงนั้น นอกจากประเทศออสเตรเลียที่ใช้

               ร่วมกับโควตาแล้ว สหภาพยุโรปมีการใช้มาตรการหยุดทำการประมงด้วยอวนลากสำหรับปลาผิวน้ำ การ

               กำหนดขนาดสัตว์น้ำที่เล็กที่สุดที่สามารถจับและนำขึ้นท่าเรือได้ มาตรการกำหนดขนาดสัตว์น้ำอนุรักษ์

               ที่ขนาดเล็กที่สุด การกำหนดตาอวนที่เล็กที่สุดที่ทำการประมงได้ การกำหนดให้เครื่องมือประมงบาง

               ประเภทลดการจับปลาที่ไม่ต้องการ การปิดการทำประมงในพื้นที่ต่าง ๆ และการปิดการทำประมงใน

               ฤดูกาล การกำหนดปริมาณสัตว์น้ำที่ไม่ต้องการ การกำหนดผลกระทบที่น้อยที่สุดจากการทำประมงที่มี

               ต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ประเทศญี่ปุ่น กำหนดระบบการกำหนดจำนวนการลงแรงประมง (Total

               Allowable Effort: TAE) ประเทศแคนาดา กำหนดความยาวของตาข่าย จำนวนตะขอหรือเบ็ด จำนวน

               เที่ยวเรือในการทำการประมงต่อวัน จำนวนวันที่สามารถทำการประมงได้ในช่วงฤดูกาลเปิดและปิดการ

               ทำประมงในพื้นที่ที่จำกัด เป็นต้น


                       สำหรับการจัดการสัตว์น้ำผลพลอยได้ (Bycatch) ของประเทศต่างๆ ได้แก่ ประเทศ

               สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ จะมีลักษณะคล้ายกัน โดยการติดเครื่องมือ (Turtle

               Excluder Device; TED) เพื่อป้องกันสัตว์น้ำผลพลอยได้ เช่น เต่า นกทะเล สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

               (ปลาโลมา) ติดที่เรืออวนลาก พร้อมกับการควบคุมขนาดและความยาวของอวน รวมถึงจำนวนเบ็ดที่ใช้

               ในการประกอบกิจกรรมประมงทะเล (Natural Marine Fishery Service (2006) และ Government

               of Canada (2021))



                       การจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำโดยใช้การจัดการประมงแบบมีส่วนร่วม จะพบว่า มีหลายประเทศ

               ได้นำหลักการนี้ไปใช้ เช่น ประเทศบังคลาเทศ นำไปใช้กับการประมงพื้นบ้าน แนวทางที่ปฏิบัติของ

               ชุมชน มีการเพิ่มจำนวนฝูงสัตว์น้ำต่างๆ โดยการเพาะฟัก การอนุบาลลูกปลาในหลายชนิด มีการกำหนด

               ห้ามจับสัตว์น้ำในช่วงฤดูผสมพันธ์ กำหนดกฎหมายของชุมชนเพื่อระวังและป้องกันการใช้ทรัพยากรสัตว์

               น้ำ หากใครไม่ทำตามจะถูกออกจาการเป็นสมาชิก ซึ่งทำให้ชุมชนมีรายได้จากการจับปลาเพิ่มขึ้น

               ยกระดับรายได้ครัวเรือน สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ และบริหารการใช้ทรัพยากรด้วยความหลากหลาย

               ได้ (Fatema. et al, 2016).


                       ตัวอย่างเพิ่มเติมที่เห็นชัดเจนและมีการนำไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น ประเทศญี่ปุ่นที่มีการให้

               สหกรณ์ประมงเป็นผู้กำหนดกฎหมายในการทำประมงของพื้นที่ ประเทศญี่ปุ่นจะเป็นประเทศที่ประสบ

               ความสำเร็จในการจัดการมากที่สุด Hirotsugu Uchida and M.Makino (2008) ได้ศึกษาการจัดการ

               แบบมีส่วนร่วมของชาวประมงในประเทศญี่ปุ่นในหลายกลุ่ม ซึ่งผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการประมง


                                                     หน้า | 128
   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141