Page 137 -
P. 137
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
แบบส่วนร่วม คือ ชาวประมง ผู้ออกกฎเกณฑ์ และนักวิทยาศาสตร์ โดยชาวประมงจะเป็นผู้ดูแล
ทรัพยากรของตนเองจากประสบการณ์การทำประมง นักวิทยาศาสตร์จะนำความรู้ด้านการจัดการระบบ
นิเวศมาใช้อย่างไร และนักกฎหมายจะเข้ามาคอยมีส่วนช่วยในการประสานและคอยพิจารณากฎต่างๆ
ซึ่งจะเห็นได้ว่าการจัดการแบบมีส่วนร่วมของชาวประมงญี่ปุ่นจะค่อนข้างประสบความสำเร็จถึงแม้จะมี
ลักษณะการแข่งขันกัน รวมทั้งเกิดประโยชน์ร่วมกันที่ชัดเจนทั้งในด้านของความยั่งยืนชีววิทยาและ
เศรษฐศาสตร์
6.5 มาตรการการจัดการประมงของประเทศไทย
ตั้งแต่อดีต ปี พ.ศ.2490-ปัจจุบัน มาตรการการจัดการประมงของประเทศไทย ได้มีการ
จัดการเช่น การห้ามทำประมงสัตว์น้ำอนุรักษ์และสัตว์น้ำที่เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น เต่าทะเล พะยูน
ปลาโลมา ฉลาวาฬ รวมถึงการทำประมงในแหล่งปะการัง และปะการังเทียม การห้ามทำประมงในพื้นที่
ต่างๆ การห้ามทำประมงในบางเครื่องมือ เช่น อวนลาก อวนรุน อวนลากแผ่นตะเฆ่ อวนลากคู่ อวนล้อม
จับ (ตามขนาดตาอวนที่กำหนด) อวนปลากะตักประกอบกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือมีการห้ามใช้
เครื่องมือประมงร่วมกับการจำกัดพื้นที่ทำการประมง การกำหนดขนาดตาอวนไม่ให้เล็กจนเกินไป หรือ
ห้ามอวนที่มีตาถี่เกินไป การห้ามไม่ให้ใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าร่วมกับการทำประมง และมาตรการปิดพื้นที่
อ่าวในการทำประมงช่วงฤดูปลาวางไข่และเลี้ยงตัวอ่อน รวมทั้งการส่งเสริมให้มีการฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์
น้ำโดยการทำปะการังเทียม สำหรับการปล่อยพันธ์สัตว์น้ำส่วนใหญ่จะเน้นสัตว์น้ำจืด (เรืองไร, 2557)
ในส่วนของการจัดการแบบมีส่วนร่วม พบว่า ภาครัฐได้ส่งเสริมให้มีการทำประมงชุมชนเพื่อให้
ชาวประมงมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร โดยเริ่มต้นจากภาครัฐ องค์กรเอกชนและองค์กร NGOs
เข้ามาช่วย มีการอบรม สร้างกลุ่มสมาชิก และเมื่อสมาชิกกลุ่มสามารถดำเนินการได้อย่างเข้มแข็งแล้ว
สุดท้ายจะให้กลุ่มสามารถจัดการทรัพยากรประมงของกลุ่มด้วยกลุ่มเองต่อไป อย่างไรก็ตามในภาพรวม
กลุ่มที่ประสบความสำเร็จและสามารถดำเนินการด้วยกลุ่มเองอย่างเบ็ดเสร็จนั้นอาจจะมีน้อยมาก และ
บางครั้งอาจยังคงขอการสนับสนุนจากภาครัฐ หรือหน่วยงานอื่นๆ เพิ่มเติมในบางครั้ง เก็ตถวาและคณะ
2555 ได้ศึกษาถึงการมีส่วนร่วมของชาวประมงรอบทะเลสาบสงขลา โดยพัฒนาระบบกรรมสิทธิ์
ทรัพยากรประมง สิทธิการเข้าถึงทรัพยากร การตั้งระเบียบกฎเกณฑ์ของชุมชน ซึ่งพื้นที่ได้มีการจัด
โครงการฟาร์มทะเลโดยชุมชน สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง จัดการเพิ่มทรัพยากรสัตว์น้ำได้มาก
ขึ้น มีการจัดการควบคุมการทำประมงโดยกำหนดกันเอง เช่น เกี่ยวกับตาอวนลอยสามชั้น ช่วยกันดูแล
การประมงที่กระทำผิดกฎกติการะเบียบ เพื่อการอนุรักษ์ที่ยั่งยืน ผลของการดูแลทรัพยากร ทำให้
ชาวประมงมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการฟื้นฟูทรัพยากร นอกจากนั้น การมีส่วนร่วมของประมงชุมชนใน
หน้า | 129