Page 135 -
P. 135
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ออกกฎหมายกำหนดรูปแบบและขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารและจัดการทรัพยากร
ประมงชุมชน (กังวาลย์ จันทรโชติ, 2541) การจัดการประมงแบบมีส่วนร่วมโดยสรุปแล้ว จะเป็นการ
ร่วมมือกันในกระบวนการเพื่อวางแผนและตัดสินใจเพื่อหามาตาการในการจัดการทรัพยากร ซึ่งช่วงแรก
จะมีหน่วยงานจากรัฐเข้ามาร่วมกับชาวประมงหรือชุมชน ให้สามารถปรับตัวเข้าหากัน และก่อให้เกิด
การจัดการประมงอย่างมีประสิทธิผล (ทวนทอง จุฑาเกตุ, 2556)
6.4 มาตรการการจัดการประมงของต่างประเทศ
ในต่างประเทศมีการจัดการด้านการประมงในด้านต่างๆ บางประเทศมีลักษณะคล้ายคลึงกัน
บางประเทศแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามมาตรการที่มีนั้นจะมุ่งเน้นการจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน
โดยมีรายละเอียดดังตารางที่ ซึ่งในภาพรวมมาตรการต่างนั้นจะเน้นในส่วนของการฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์
น้ำ การควบคุมการลงแรงประมง การกำหนดโควต้า การจำกัดการให้ใบอนุญาตทำการประมง การ
กระจายการทำประมง การจัดการกับสัตว์น้ำพลอยได้
การฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา เน้นการสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล การ
รักษาและอนุรักษ์ทรัพยากรโดยชุมชนท้องถิ่น การรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำในกลุ่มอนุรักษ์ที่ใกล้สูญพันธุ์
หรือหากเป็นประเทศญี่ปุ่นจะมีการทำฟาร์มเพาะเลี้ยงลูกพันธ์สัตว์น้ำในชนิดที่มีการจับมากเกินควรหรือ
ใกล้สูญพันธ์ เมื่อเลี้ยงจนลูกพันธ์แข็งแรง จะทำการปล่อยสู่ทะเลเพื่อการเติบโตต่อไป (NOAA, 2016)
เป็นต้น
ระบบการใช้โควตา พบว่า สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และแคนาดา มีการกำหนดปริมาณสัตว์น้ำที่
อนุญาตให้จับ (Total Allowance Catch) จำกัดปริมาณการจับเป็นรายเดือน และปิดพื้นที่ทำการ
ประมง สำหรับนิวซีแลนด์ และแคนาดา จะใช้ระบบโควตาของแต่ละบุคคลโดยที่แต่ละบุคคลสามารถ
ถ่ายโอนโควตานั้นๆ ได้ (Individaul Transferable Quotas) การกำหนดปริมาณชนิดพันธุ์ที่อนุญาตให้
จับ ตามปริมาณและฤดูกาลที่กำหนด (The Parliamentary Office of Science and Technology
(2010), Irina POPESCU and Toshihiko OGUSHI (2013), Malcolm P. Francis et al (2009)).
ประเทศแคนาดายังมีการกำหนดในส่วนของใบอนุญาต เพื่อลดปริมาณการทำประมง ส่วนออสเตรเลียมี
การให้โควตาในรูปแบบ Competitive Total Allowable Catch เป็นการผสมผสานกันระหว่าง
มาตรการ Individual Transferable Quotas และมาตรการ Input Control เพื่อให้สามารถกำหนด
ปริมาณในการจับและการออกใบอนุญาตในการจับรวม
หน้า | 127