Page 119 -
P. 119
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 6
แนวทางการจัดการการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
บทนี้อธิบายถึงปัญหาของการทำประมง ปัญหาการทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งเมื่อทราบ
ถึงปัญหาแล้ว จะได้ศึกษาถึงการแก้ไขปัญหาต่างๆ เป็นการวางแผนในด้านการจัดการจัดการการ
ประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
6.1 ปัญหาการทำประมง
การประมงทะเลไทยที่ผ่านมาพบว่า ปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้น (TDRI, 2560) ได้แก่
1) การทำประมงมากเกินควร การที่ผู้บริโภคมีความต้องการบริโภคสัตว์น้ำเกินกว่าระดับ
สมดุล ข้อมูลจากนักวิทยาศาสตร์ต่างระบุถึงการทำประมงเกินขนาดนั้นสามารถส่งผลให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่ขนาดของฝูงสัตว์น้ำ จากการประเมินสภาวะทรัพยากรสัตว์น้ำจากนักวิชาการ
สถาบันวิจัยและพัฒนาประมงทะเลใช้แบบจำลองชีวประมงประเมินสภาวะทรัพยากรสัตว์น้ำ หาระดับ
ศักย์การผลิตสูงสุด (MSY) และระดับมูลค่าจากการทำประมงผลได้เชิงเศรษฐศาสตร์สูงสุด (MEY) ใน
แบบจำลองของ Thomsom and Bell สำหรับประเทศไทยมีผู้ศึกษาการทำประมงมากเกินควรไว้ พบว่า
ปี 2550-2552 สำหรับปลาผิวน้ำ (ปลาทูแขกครีบยาว ปลาลัง ปลากะตัก ปลาแข้งไก่ ปลาข้างเหลือง และ
ปลาหลังเขียว) และปลาหน้าดิน (ปลาแพะเหลือง ปลาตาหวานจุด ปลาแป้นกระดาน ปลาปากคม ปลา
สีกุนโต กุ้งตะกาด กุ้งแชบ๊วย กุ้งทราย ปูม้า หมึกกล้วย) การทำประมงส่วนใหญ่มีการลงแรงประมงเกิน
กว่าระดับที่เหมาะสมไปแล้ว ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน โดยมีทั้งอวนล้อม อวนครอบ อวนล้อมปลา
กะตัก (เรืองไร โตกฤษณะ 2557 และ จินดา เพชรกําเนิด และคณะ 2557)
2) ด้านการจับสัตว์น้ำผลพลอยได้ (Bycatch) ในที่นี้หมายถึง สัตว์น้ำผลพลอยได้เกิดจาก
การทำประมงในสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจะเกิดความสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้รวมลูก
ปลาขนาดเล็กที่ยังไม่ได้ขนาดหรือปลาขนาดใหญ่ เช่น ปลาฉลาม จากงานวิจัยที่ผ่านมามีการศึกษาที่
พบว่า การจับสัตว์น้ำโดยอวนบางชนิด เช่น อวนรุน และอวนปลากะตักชนิดต่างๆ มีสัตว์น้ำเศรษฐกิจวัย
อ่อนที่ไม่ได้ตามขนาดความต้องการของตลาดก่อให้เกิดการสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจ ดังตารางที่ 6. 1
จากการศึกษาการสูญเสียทางเศรษฐกิจของสัตว์น้ำที่จับไม่ได้ขนาดของการทำประมงอวนรุน ในพื้นที่ฝั่ง
ตะวันออก (จันทบุรีและตราด) พบว่า สัตว์น้ำเศรษฐกิจขนาดเล็กที่จับได้จากเครื่องมืออวนรุนมีมูลค่า
เฉลี่ยเท่ากับ 7,297.13 บาท/วัน ซึ่งหากสัตว์น้ำขนาดเล็กดังกล่าวเติบโตจนถึงขนาดแรกสืบพันธุ์จะมี
มูลค่าถึง 14,075.59 บาท/วัน ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียเป็นมูลค่าเท่ากับ 6,778.46 บาท/วัน (นันทพล
สุขสําราญ และกฤษฎา ธงศิลา 2558) ปัจจุบันการทำประมงอวนรุนได้ถูกยกเลิกและผิดกฎหมาย (ราช
กิจจานุเบกษา, 2558)
หน้า |111