Page 14 -
P. 14

ุ
                                                      ั
                                ิ
                                          ิ
                           ิ
                    ิ
                 ื
                             ์
      โครงการหนังสออเล็กทรอนกส เฉลมพระเกียรตสมเด็จพระเทพรตนราชสดาฯ สยามบรมราชกุมาร ี

                     2. ชื่อเฉพาะต่างๆ ถ่ายถอดเสียงเป็นภาษาไทยโดยยึดตามเกณฑ์การ
              ถ่ายถอดเสียงภาษาจีนแมนดารินด้วยอักขรวิธีไทย ของคณะกรรมการสืบค้น
              ประวัติศาสตร์ไทยในเอกสารภาษาจีน ส านักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี พ.ศ.
              2543 เป็นหลัก แต่ปรับให้ง่ายลงตามข้อ 3.2 ในเกณฑ์ดังกล่าวซึ่งอนุโลมให้
              ถอดเสียง zh ch sh เป็น จ; ช/ฉ; ส/ซ โดยไม่ขีดเส้นใต้ก็ได้ ส่วนค าที่ใช้

              แพร่หลายแล้วในภาษาไทย เช่น ยูนนาน ใช้ตามความนิยมเดิม ค าที่น่าจะมี
              ความหมายเชื่อมโยงกับค าที่รู้จักในภาษาไทยพิจารณาเป็นรายกรณี เช่น
              หลานจ่าง น่าจะหมายถึงล้านช้าง จึงถอดเป็นหลานจ่าง ไม่ถอดเป็นหลานจั่ง
              เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้แปลได้ให้อักษรจีนไว้ในวงเล็บเมื่อปรากฏเป็นครั้งแรก เพื่อให ้
              เป็นการสะดวกต่อการค้นคว้า


                     3. สอบทานกับเอกสารโบราณอื่นๆ แก้ไขตัวอักษรที่ฉบับรวมคัดสรร
              พิมพ์คลาดเคลื่อนไปให้ถูกต้องและอธิบายไว้ท้ายตาราง จัดท าค าอธิบายส่วน
              ที่ผู้แปลไม่เห็นด้วยกับการแบ่งวรรคตอนในฉบับรวมคัดสรร อธิบายไว้ท้าย
              ตาราง

                     4. ค้นคว้าและอธิบายข้อมูลที่จ าเป็นไว้ท้ายตาราง เอกสารหลักที่ใช้ใน

              การค้นคว้าอยู่ในบรรณานุกรม ทั้งนี้ ค้นคว้ารายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ
              หน่วยงาน เขตการปกครอง และชื่อต าแหน่งขุนนางจาก “พจนานุกรมระบบ
              ขุนนางแต่ละสมัยของจีน”(《中国历代官制大辞典》)ของ
              ส านักพิมพ์ปักกิ่ง ค้นคว้าต าแหน่งที่ตั้งเขตการปกครองและสถานที่จาก
              “ประชุมแผนที่ประวัติศาสตร์จีน”(《中国历史地图集》)เล่มที่ 7

              ว่าด้วยแผนที่ราชวงศ์หยวนและราชวงศ์หมิง ของส านักพิมพ์แผนที่จีน เล่มที่
              8 ว่าด้วยแผนที่ราชวงศ์ชิง ของส านักพิมพ์แผนที่จีน ค้นคว้ารายละเอียดอื่น

              ที่เกี่ยวข้องจาก “พจนานุกรมประวัติศาสตร์จีน”(《中国历史大辞
              典》)ของส านักพิมพ์ซั่งไห่ฉือซู เล่มที่ว่าด้วยประวัติศาสตร์ชนชาติ
                                                             แ
              (民族史)ว่าด้วยประวัติศาสตร์หมิง (明史) ล ะว่าด้วย
              ประวัติศาสตร์ราชวงศ์ชิง(清史)
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19