Page 9 -
P. 9

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                                                      บทคัดย่อ






                       ในช่วงวิกฤติการณ์โควิด-19 ประเทศไทยมีการออกมาตรการประกาศปิดประเทศเพื่อหยุดการแพร่
               ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศโดยเฉพาะ

               กิจกรรมด้านการท่องเที่ยวและส่งผลทางลบต่อการหารายได้ของคนไทยอย่างมาก แต่สิ่งหนึ่งที่ปรากฏขึ้น
               พร้อม ๆ กับการหยุดชะงักของกิจกรรมการท่องเที่ยวทางทะเลคือการฟื้นตัวของทรัพยากรทางทะเลและ

               ชายฝั่ง การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการฟื้นตัวของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งช่วงวิกฤติการณ์โค
               วิด-19 และขีดความสามารถในการรองรับด้านการท่องเที่ยว (Carrying Capacity) และความพร้อมของสาขา

               การท่องเที่ยวในการปรับแนวทางการใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน รวมถึงการจัดทำ
               ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและด้านการท่องเที่ยวเพื่อนำไปสู่ความ

               ยั่งยืน การศึกษานี้กำหนดขอบเขตศึกษาครอบคลุม 5 พื้นที่แหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ 1) หาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต
               2) เกาะรอก จังหวัดกระบี่ 3) เกาะห้อง จังหวัดกระบี่ 4) อ่าวมาหยา จังหวัดกระบี่ และ 5) เกาะลิบง จังหวัด

               ตรัง โดยดำเนินการศึกษาเชิงพรรณาซึ่งใช้ข้อมูลทุติยภูมิด้านการท่องเที่ยว มลพิษทางทะเล และการ
               เปลี่ยนแปลงจำนวนและคุณภาพทรัพยากรทางทะล และมีการคำนวณขีดความสามารถในการรองรับด้าน

               กายภาพ (Physical Carrying Capacity: PCC) ขีดความสามารถในการรองรับที่แท้จริง (Real Carrying
               Capacity: RCC) และขีดความสามารถในการรองรับด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (Facility Carrying

               Capacity: FCC) รวมถึงข้อเสนอด้านมาตรการการท่องเที่ยวจากการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก
               หน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในพื้นที่ศึกษา


                       ผลการศึกษาพบว่าความสัมพันธ์ของจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับปริมาณ
               ขยะที่ลดลง คุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งที่ดีขึ้น และความงดงามของชายหาดกลับคืนมา ในขณะเดียวกัน
               ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งก็ไร้การรบกวนจากนักท่องเที่ยวและกิจกรรมของมนุษย์ ทำให้เจอสัตว์น้ำ

               โดยเฉพาะสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธ์ได้บ่อยมากขึ้นหรือฝูงใหญ่ขึ้น ดังนั้น การควบคุมปริมาณกิจกรรม

               การท่องเที่ยวทางทะเลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมสามารถนำไปสู่การฟื้นตัวและการใช้ประโยชน์ของทรัพยากร
               ทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ผลการศึกษาขีดความสามารถในการรองรับการท่องเที่ยวด้านกายภาพ
               (PCC) ด้านการรองรับที่แท้จริง (RCC) และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (FCC) พบว่าที่หาดป่าตอง จังหวัด

               ภูเก็ต มีจำนวนนักท่องเที่ยวเกินขีดความสามารถในการรองรับด้านการท่องเที่ยวทั้ง 3 ด้าน การศึกษานี้มี

               ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ 1) กำหนดเขตการใช้ประโยชน์ (Zoning) 2) ปรับฤดูกาลเปิดปิดแหล่งท่องเที่ยว
               (Fallow Period) 3) พัฒนาอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก 4) ดำเนินการเอาผิดผู้ฝ่าฝืนกฎระเบียบอย่าง
               จริงจัง 5) พัฒนาระบบค่าธรรมเนียมเข้าแหล่งท่องเที่ยว 6) เพิ่มความหลากหลายของกิจกรรมการท่องเที่ยว

               7) สร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวทางทะเล และ 8) การสร้างจิตสำนึกและความร่วมมือในการ

               อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง









                                                            จ
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14