Page 7 -
P. 7
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทสรุปผู้บริหาร
ส่วนหาดทุ่งหญ้าคา เกาะลิบง จังหวัดตรัง พบว่าจำนวนนักท่องเที่ยวยังไม่เกินขีดความสามารถในการ
รองรับการท่องเที่ยวด้านกายภาพ (PCC) และด้านการรองรับที่แท้จริง (RCC) แต่เกินขีดความสามารถใน
การรองรับด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (FCC)
อย่างไรก็ดี เพื่อเป็นการดูแลและรักษาคุณภาพทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ภาคส่วนต่าง ๆ ได้
ดำเนินมาตรการกำกับดูแลกิจกรรมการท่องเที่ยวทางทะเลและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเล
และชายฝั่งภายใต้อำนาจหน้าที่และภารกิจของหน่วยงานตนเอง เช่น การกำหนดเขตอนุรักษ์แหล่งหญ้า
ทะเลและพะยูน การเก็บค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานแห่งชาติ การกำหนดฤดูกาลท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยาน
แห่งชาติ การกันแนวพื้นที่เพื่อประกอบกิจกรรมนันทนาการ การส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและการ
ท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ การอบรมมัคคุเทศก์ในเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และในส่วน
ของภาคสังคมมีการรวมกลุ่มกันในลักษณะของกิจกรรมอนุรักษ์ เช่น อาสาสมัครพิทักษ์ทะเล เครือข่าย
อนุรักษ์พะยูนและหญ้าทะเล กลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ดุหยง วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงผึ้งบ้านไหนหนัง
(อาศัยผึ้งเป็นตัวกลางในการขยายพันธุ์ไม้ป่าชายเลน) การรวมกลุ่มเก็บขยะทะเล ดำน้ำเก็บขยะ และปลูก
หญ้าทะเล เป็นต้น
ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ประการแรก กำหนดเขตการใช้ประโยชน์ (Zoning)
การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ (Zoning) เช่น เส้นทางเดินเรือท่องเที่ยว พื้นที่จอดเรือ เขตทำ
ประมง เขตอนุรักษ์แนวปะการังและหญ้าทะเล หรือเขตดำน้ำที่แยกออกจากเขตอนุรักษ์ เช่น เขตอนุรักษ์
แนวปะการัง หรือเขตหญ้าทะเล เป็นต้น เพื่อควบคุมกิจกรรมการท่องเที่ยวให้อยู่ในบริเวณที่กำหนดไว้โดย
ไม่ให้กระทบการท่องเที่ยวมากนักแต่ยังคงมีพื้นที่ที่จัดให้เป็นเขตอนุรักษ์เพื่อให้ทรัพยากรสามารถฟื้นตัวได้
ประการที่สอง ปรับฤดูกาลเปิดปิดแหล่งท่องเที่ยว (Fallow Period)
ปรับฤดูกาลเปิดปิดอุทยานแห่งชาติ (Fallow Period) ให้มีการสลับพื้นที่และเหลื่อมเวลา อาจมี
การเพิ่มเวลาการปิดอุทยานทางทะเลเป็นเวลา 3 เดือนหรือ 4 เดือนต่อปี และประกาศปิดพื้นที่เกาะบาง
แห่งเป็นเวลา 1-2 ปี สลับกันโดยให้นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชมเกาะอื่นแทน เพื่อให้ทรัพยากรสามารถ
ฟื้นตัวได้อย่างสมบูรณ์
ประการที่สาม พัฒนาอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก
พัฒนาอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น เช่น ทุ่นลอยน้ำเพื่อกำหนดเขตการใช้
ประโยชน์ต่าง ๆ ท่าจอดเรือ ที่ทิ้งขยะ ห้องสุขา พื้นที่ขายอาหารและสินค้า ระบบเตือนภัยกรณีการเกิด
มรสุม มีป้ายสัญลักษณ์ที่ชัดเจน ค่าปรับกรณีมีผู้ฝ่าฝืน การติดตั้งป้ายบอกเส้นทางเดินธรรมชาติ เส้นทางเดิน
พื้นที่ห้ามเข้า เขตเล่นน้ำ เขตเล่นกีฬาทางน้ำ โดยป้ายต่าง ๆ ควรแสดงทั้งภาษาไทยและภาษาต่างชาติ
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ค