Page 5 -
P. 5

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                                                   บทสรุปผู้บริหาร






                   รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการวิจัย

                   ชื่อเรื่อง   โครงการศึกษาการฟื้นตัวของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งช่วงวิกฤติการณ์โควิด-19
                              และแนวนโยบายเพื่อการใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน


                              Marine and Coastal Resource Regeneration During Covid-19
                              and Policy Guideline for Sustainable Tourism Management


                   คณะผู้วิจัย  รศ.ดร.อดิศร์  อิศรางกูร ณ อยุธยา  สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

                              ดร. ปิ่นสักก์  สุรัสวดี         กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ที่ปรึกษาโครงการ)

                              นางทิพวัลย์  แก้วมีศรี          สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

                              นางสาวปริญญารัตน์  เลี้ยงเจริญ    สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

                              นางสาวกาญจนา  ย่าเสน             สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย


                   งบประมาณและระยะเวลาทำวิจัย

                           -  ได้รับงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563     งบประมาณที่ได้รับ 1,936,000 บาท
                           -  ระยะเวลาทำวิจัย ตั้งแต่ กันยายน 2563 ถึง พฤษาคม 2564

                   สรุปโครงการวิจัย


                          ในช่วงวิกฤติการณ์โควิด-19 ประเทศไทยมีการออกมาตรการประกาศปิดประเทศเพื่อหยุดการ
                   แพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศ

                   โดยเฉพาะกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวและส่งผลทางลบต่อการหารายได้ของคนไทยอย่างมาก แต่สิ่งหนึ่งที่
                   ปรากฏขึ้นพร้อม ๆ กับการหยุดชะงักของกิจกรรมการท่องเที่ยวทางทะเลคือการฟื้นตัวของทรัพยากรทาง

                   ทะเลและชายฝั่งดังตัวอย่างที่ปรากฏในภาพสื่อต่าง ๆ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการฟื้นตัว
                   ของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งช่วงวิกฤติการณ์โควิด-19 และขีดความสามารถในการรองรับด้านการ

                   ท่องเที่ยว (Carrying Capacity) และความพร้อมของสาขาการท่องเที่ยวในการปรับแนวทางการใช้
                   ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน รวมถึงการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการจัดการ

                   ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและด้านการท่องเที่ยวเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน การศึกษานี้กำหนดขอบเขต
                   ศึกษาครอบคลุม 5 พื้นที่แหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ 1) หาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต 2) เกาะรอก จังหวัดกระบี่

                   3) เกาะห้อง จังหวัดกระบี่ 4) อ่าวมาหยา จังหวัดกระบี่ และ 5) เกาะลิบง จังหวัดตรัง โดยดำเนิน
                   การศึกษาเชิงพรรณาซึ่งใช้ข้อมูลทุติยภูมิด้านการท่องเที่ยว มลพิษทางทะเล และการเปลี่ยนแปลงจำนวน

                   และคุณภาพทรัพยากรทางทะล และมีการคำนวณขีดความสามารถในการรองรับด้านกายภาพ (Physical
                   Carrying Capacity: PCC) ขีดความสามารถในการรองรับที่แท้จริง (Real Carrying Capacity: RCC)





                                                              ก
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10