Page 6 -
P. 6

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                 รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
               โครงการศึกษาการฟื้นตัวของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งช่วงวิกฤติการณ์โควิด-19 และแนวนโยบายเพื่อการใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน



               และขีดความสามารถในการรองรับด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (Facility Carrying Capacity: FCC)

               รวมถึงข้อเสนอด้านมาตรการการท่องเที่ยวจากการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกหน่วยงานภาคส่วน
               ต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในพื้นที่ศึกษา


               ผลการศึกษาการฟื้นตัวของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในช่วงวิกฤติการณ์โควิด-19

                       ผลการศึกษาพบว่าความสัมพันธ์ของจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ
               ปริมาณขยะที่ลดลง คุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งที่ดีขึ้น และความงดงามของชายหาดกลับคืนมา

               ในขณะเดียวกัน ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งก็ไร้การรบกวนจากนักท่องเที่ยวและกิจกรรมของมนุษย์
               จึงเป็นโอกาสที่ทรัพยากรทางทะเลได้มีเวลาพักฟื้นกลับสู่สภาพธรรมชาติ ซึ่งผลการศึกษาพบว่าการฟื้นตัว

               ของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในช่วงวิกฤติการณ์โควิด-19 เช่น หาดป่าตอง สามารถเห็นการ
               เปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนว่าหาดทรายสะอาดขึ้น ไร้ขยะ น้ำทะเลเป็นสีฟ้าครามใสสะอาดและมีปลาตัวเล็ก ๆ

               ว่ายเข้ามาใกล้ชายหาดมากขึ้น หรือพื้นทรายบริเวณหน้าหาดอ่าวมาหยามีความนุ่มฟูและไม่อัดแน่น
               หลังจากประกาศปิดอ่าวแสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่ามีการฟื้นตัวได้ดีในระดับหนึ่ง ส่วนทรัพยากรปะการังที่

               เห็นได้ชัดคือไม่มีสิ่งรบกวน ปริมาณขยะในแนวปะการังลดลง มีฝูงปลาเล็ก ๆ เข้ามาในแนวปะการังมาก
               ขึ้น และการฟื้นตัวของปะการังจากการฟอกขาวดีขึ้นถึงแม้ว่าอุณหภูมิน้ำทะเลยังคงสูงอยู่แต่มีปัจจัย

               ผลกระทบด้านมลพิษที่จะไปกระตุ้นลดน้อยลง

                       ส่วนสัตว์น้ำโดยเฉพาะสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธ์อาจไม่ได้ฟื้นตัวมากขึ้นในช่วง พ.ศ. 2563

               แต่สามารถพบเจอได้บ่อยขึ้นหรือฝูงใหญ่ขึ้น เช่น พบเจอวาฬเพชฌฆาตดำฝูงใหญ่ 10 -15 ตัว เป็นครั้ง
               แรกในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ หรือเจอฉลามหูดำนับร้อยตัวที่หมู่เกาะห้องและ

               อ่าวมาหยาและมีจำนวนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่าน ๆ มา พบฝูงพะยูน คู่พะยูนแม่ลูก และเต่าทะเล
               ออกมาว่ายน้ำและโผล่ขึ้นมาหายใจให้เห็นมากขึ้นที่เกาะลิบง หรือการกลับมาวางไข่อีกครั้งในรอบ 20 ปี

               ของเต่าตนุบนเกาะลิบง ปรากฏการณ์ดังกล่าวบ่งบอกถึงการพบเจอสัตว์น้ำได้บ่อยขึ้นเมื่อนักท่องเที่ยวและ
               กิจกรรมการท่องเที่ยวลดลงในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ดังนั้น จึงสามารถสรุปได้ว่า

               การควบคุมปริมาณกิจกรรมการท่องเที่ยวทางทะเลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมสามารถนำไปสู่การฟื้นตัว
               และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในระยะยาว

               ผลการศึกษาขีดความสามารถในการรองรับด้านการท่องเที่ยว (Carrying Capacity) และมาตรการ

               กำกับกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวทางทะเล

                       ผลการศึกษาพบว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่หาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต เกินขีดความสามารถในการ

               รองรับด้านกายภาพ (PCC) และขีดความสามารถในการรองรับที่แท้จริง (RCC) รวมถึงด้านสิ่งอำนวยความ
               สะดวก (FCC) ซึ่งไม่เพียงพอกับจำนวนนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว แต่ในกรณีพื้นที่

               เกาะรอกและเกาะห้อง จังหวัดกระบี่ พบว่าจำนวนนักท่องเที่ยวยังไม่เกินขีดความสามารถในการรองรับ
               การท่องเที่ยวด้านกายภาพ (PCC) ด้านการรองรับที่แท้จริง (RCC) และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (FCC)





                 ข     สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11