Page 8 -
P. 8
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการศึกษาการฟื้นตัวของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งช่วงวิกฤติการณ์โควิด-19 และแนวนโยบายเพื่อการใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
การติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อตรวจจับผู้กระทำผิดข้อบังคับ และการติดตั้งระบบ GPS สำหรับเรือที่
ให้บริการนักท่องเที่ยวเพื่อติดตามเส้นทางการเดินเรือให้เป็นไปตามที่กำหนด
ประการที่สี่ ดำเนินการเอาผิดผู้ฝ่าฝืนกฎระเบียบอย่างจริงจัง
กรณีที่มีการฝ่าฝืน ภาครัฐต้องสามารถเอาผิดผู้ประกอบการอย่างจริงจัง รวมทั้งการขึ้นบัญชีดำ
สำหรับเจ้าของกิจการ ผู้ประกอบการ มัคคุเทศก์ และพนักงานที่ฝ่าฝืนกฎระเบียบ นอกจากในส่วนของ
การเอาผิดผู้ประกอบการอย่างจริงจังแล้ว ผู้ที่ฝ่าฝืนที่เป็นนักท่องเที่ยวเองที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ
ก็ต้องมีการเอาผิดและเสียค่าปรับอย่างจริงจัง
ประการที่ห้า พัฒนาระบบค่าธรรมเนียมเข้าแหล่งท่องเที่ยว
พัฒนาระบบค่าธรรมเนียมเข้าแหล่งท่องเที่ยวให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น กำหนดค่าธรรมเนียม
ในอัตราที่สูงขึ้นสำหรับพื้นที่เปราะบาง หรือช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวมากควรมีการ
กำหนดค่าธรรมเนียมในอัตราที่สูงขึ้นเพื่อจูงใจให้นักท่องเที่ยวหลีกเลี่ยงการเข้าพื้นที่ในช่วงแออัด ในขณะ
ที่การเที่ยวในวันธรรมดาหรือช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยวอาจมีค่าธรรมเนียมที่ต่ำเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้
เข้าพื้นที่ หรือกรณีพื้นที่ชายหาด อปท. สามารถกำหนดอัตราการจอดรถเป็นรายชั่วโมงจะช่วยทำให้
นักท่องเที่ยวใช้เวลาในบริเวณชายหาดไม่นานจนเกินไป ช่วยลดความแออัดและแรงกดดันต่อธรรมชาติ
ประการที่หก เพิ่มความหลากหลายของกิจกรรมการท่องเที่ยว
เพิ่มความหลากหลายของกิจกรรมการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้นเพื่อลดแรงกดดันต่อแหล่งท่องเที่ยว
ทางธรรมชาติ และควรเน้นให้ความสำคัญด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมซึ่งอาจดำเนินการ
ร่วมกับชุมชน เช่น การจัดทำโฮมสเตย์ การพัฒนาธุรกิจอาหารพื้นบ้านและธุรกิจของฝากนักท่องเที่ยว การ
พัฒนาหมู่บ้านประมงเพื่อเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยว ฯลฯ
ประการที่เจ็ด สร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวทางทะเล
การมีส่วนร่วมทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน ตัวแทนชุมชน ตัวแทนเกษตรกรหรือชาวประมง และ
ตัวแทนร้านค้า รวมถึงตัวแทนของภาคการเมืองท้องถิ่นในการพัฒนาการท่องเที่ยวทางทะเลจะนำไปสู่การ
รับทราบปัญหาที่แท้จริง การรับฟังสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องการและแนวทางแก้ปัญหาที่ถูกต้อง ในกรณีที่
การกำหนดและการดำเนินมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนหรือการ
ประกอบอาชีพของประชาชน ดังนั้น การเปิดโอกาสให้มีการหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกันจะนำไปสู่การ
ดำเนินมาตรการอย่างประนีประนอม
ประการสุดท้าย การสร้างจิตสำนึกและความร่วมมือ
การสร้างจิตสำนึกและความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนให้มากขึ้น เพื่อนำไปสู่การ
ลดการใช้วัสดุที่ทำจากพลาสติกและกล่องโฟม รวมทั้งการรณรงค์ให้นักท่องเที่ยวใช้ถุงผ้า กล่องอาหารและ
ขวดน้ำส่วนตัว เช่นเดียวกับที่ปัจจุบันสามารถปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิผลในหลายพื้นที่
ง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย