Page 58 -
P. 58
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการศึกษาการฟื้นตัวของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งช่วงวิกฤติการณ์โควิด-19 และแนวนโยบายเพื่อการใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
3.2 สถานการณ์มลพิษทางทะเล
3
3.2.1 คุณภาพน้ำทะเล
(1) หาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต
ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน จังหวัดภูเก็ต ได้ดำเนินการติดตาม
ตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง (Marine Water Quality Index : MWQI) บริเวณหาดป่าตองจำนวน
3 จุด (ดังรูปที่ 3.1) เป็นประจำทุก ๆ 2 เดือน ผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งหาดป่าตอง ปี พ.ศ.
2560 พบว่าคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์พอใช้ ปี พ.ศ. 2561 คุณภาพน้ำทะเลส่วนใหญ่
อยู่ในเกณฑ์พอใช้และดี และปี พ.ศ. 2562 คุณภาพน้ำทะเลส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนคุณภาพน้ำทะเล
ปี พ.ศ. 2563 พบว่าอยู่ในเกณฑ์ดีเกือบทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าคุณภาพน้ำทะเลบริเวณหาดป่าตอง
มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ดังรูปที่ 3.2) ทั้งนี้ อาจเป็นผลมาจากวิกฤติการณ์โควิด-19 ที่มีการลดลงของ
กิจกรรมด้านการท่องเที่ยวที่ส่งผลทั้งทางด้านการลดการปล่อยน้ำเสียและของเสียลงสู่ทะเล รวมถึงการ
ลดลงของกิจกรรมการท่องเที่ยว เช่น การเดินเรือ เป็นต้น
รูปที่ 3.1 จุดเก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำชายฝั่งบริเวณหาดป่าตอง
หมายเหตุ: จุดเก็บตัวอย่างน้ำทะเล จำนวน 3 จุด ได้แก่ ป่าตอง 1 อยู่บริเวณคลองปากบาง (พิกัด N7.88558
E98.287421) ป่าตอง 2 อยู่บริเวณโรงพักซอยบางลา (พิกัด N7.894314 E99.294655) และป่าตอง 3
อยู่บริเวณสุสานมุสลิม (พิกัด N7.902093 E98.29675)
ที่มา: กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (2563)
3 พื้นที่ศึกษาเกาะรอก จังหวัดกระบี่ และเกาะลิบง จังหวัดตรัง พบว่าไม่มีสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งในพื้นที่
34 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย