Page 60 -
P. 60
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการศึกษาการฟื้นตัวของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งช่วงวิกฤติการณ์โควิด-19 และแนวนโยบายเพื่อการใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ด้านคุณภาพน้ำ กองช่างสุขาภิบาล เทศบาลเมืองป่าตองมีการวัดคุณภาพน้ำก่อนเข้าระบบและ
หลังออกจากระบบบำบัดน้ำเสียเป็นประจำทุกวัน โดยวัดความสกปรกของน้ำเสียพิจารณาจากความ
สกปรกในรูปค่า Biological Oxygen Demand (BOD) ซึ่งเป็นการวัดความสกปรกของน้ำคิดเปรียบเทียบ
ในรูปของปริมาณออกซิเจนที่ลดลง ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำในรูป BOD ก่อนเข้าระบบบำบัดน้ำเสีย
พบว่า ในช่วงเดือนมกราคมถึงธันวาคม ปี พ.ศ. 2560 - 2563 เกินค่ามาตรฐาน ยกเว้นในเดือนกรกฎาคม
พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา พบว่า ไม่เกินค่ามาตรฐานและมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ดังตารางที่ 3.9 และ
รูปที่ 3.4)
ตารางที่ 3.9 ผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำในรูปค่า BOD ก่อนเข้าระบบบำบัดน้ำเสีย
ปี พ.ศ 2560 - 2563
เดือน พ.ศ. 2560 พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2563
มกราคม 44.59 84.81 110.61 129.00
กุมภาพันธ์ 60.79 128.25 129.43 113.38
มีนาคม 78.15 136.81 113.00 77.55
เมษายน 78.97 132.43 102.60 69.10
พฤษภาคม 60.26 79.61 75.87 34.71
มิถุนายน 84.90 65.20 71.10 25.02
กรกฎาคม 76.06 89.23 78.97 19.97
สิงหาคม 57.55 73.61 67.94 16.03
กันยายน 81.00 61.17 56.80 14.95
ตุลาคม 47.35 52.84 57.68 10.04
พฤศจิกายน 65.70 81.30 78.90 11.51
ธันวาคม 54.90 99.32 97.84 7.88
หมายเหตุ: - ค่า BOD ต้องมีค่าไม่เกินค่ามาตรฐาน 20 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามประกาศระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจาก
ระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชน พ.ศ 2553
- การตรวจวัดค่าความสกปรกในรูปบีโอดี (BOD) ใช้วิธีการเก็บตัวอย่างน้ำไปทดสอบใน
ห้องปฏิบัติการโดยใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบ 5 วัน โดยกองช่างสุขาภิบาล เทศบาลเมือง
ป่าตอง
ที่มา: สำนักงานเทศบาลเมืองป่าตอง (2564)
36 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย