Page 62 -
P. 62

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                 รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
                โครงการศึกษาการฟื้นตัวของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งช่วงวิกฤติการณ์โควิด-19 และแนวนโยบายเพื่อการใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน




                      (3)  อ่าวมาหยา จังหวัดกระบี่

                       สถานการณ์คุณภาพน้ำทะเล ปี พ.ศ. 2560 - 2563 บริเวณอ่าวมาหยา จังหวัดกระบี่ มีจุดเก็บ

               ตัวอย่างน้ำทะเลอยู่ที่สถานีอ่าวมาหยา ในรูปค่า DO ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำ พบว่าอยู่ในเกณฑ์
               มาตรฐานทั้งหมด (ดังรูปที่ 3.6)


               รูปที่ 3.6  คุณภาพน้ำทะเลบริเวณอ่าวมาหยา ปี พ.ศ. 2560 – 2563

                                                                             หมายเหตุ:

                                                                             ค่า DO เป็นค่าเฉลี่ย เนื่องจาก
                                                                             มีการเก็บตัวอย่างปีละ 2 ครั้ง
                                                                             คือในฤดูฝนและฤดูแล้ง

                                                                             *ปี พ.ศ. 2563 ไม่สามารถเก็บ

                                                                             ตัวอย่างในฤดูแล้งได้ เนื่องจาก
                                                                             สถานการณ์การแพร่ระบาด

                                                                             ของโควิด-19
               ที่มา: คณะผู้วิจัย (ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ, 2563)

                      (4)  เกาะลิบง จังหวัดตรัง


                       พื้นที่ศึกษาบริเวณเกาะลิบง จังหวัดตรัง ไม่มีสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งและการ
               ตรวจวัดปริมาณน้ำเสียจากชุมชนในบริเวณเกาะลิบง อย่างไรก็ดี จากการลงพื้นที่ภาคสนาม พบว่า พื้นที่

               เกาะลิบงมีที่พักประเภท Homestay ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ริมทะเล มีการจัดการน้ำทิ้งโดยการติดตั้งถังดัก
               ไขมันก่อนทิ้งลงสู่ทะเล ซึ่งในพื้นที่บริเวณนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่มีการตรวจวัดคุณภาพน้ำทิ้ง

                      3.2.2  ขยะมูลฝอย


                       (1)  หาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต

                       เทศบาลป่าตองมีปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ

               การขยายตัวของชุมชนเมือง การเพิ่มขึ้นของประชากรและประชากรแฝง และการท่องเที่ยว ทำให้ปริมาณ
               ขยะมูลฝอยและอัตราการเกิดขยะมูลฝอยต่อวันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2560 มีอัตราการเกิด
               ขยะมูลฝอย 1.03 กิโลกรัม/คน/วัน ก่อให้เกิดขยะต่อวันเฉลี่ยประมาณ 145 ตันต่อวัน ในปี พ.ศ. 2561 มีอัตรา

               การเกิดขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้นเป็น 1.15 กิโลกรัม/คน/วัน ก่อให้เกิดขยะต่อวันเฉลี่ยประมาณ 160 ตันต่อวัน

               และในปี พ.ศ. 2562 มีปริมาณขยะมูลฝอยเฉลี่ยเท่ากับ 164 ตันต่อวัน แต่ในปี พ.ศ. 2563 ปริมาณขยะต่อ
               วันเฉลี่ยมีแนวโน้มลดลง ซึ่งปริมาณขยะทั้งหมดในพื้นที่เทศบาลเมืองป่าตองจะถูกนำไปทิ้งรวมที่ศูนย์กำจัด
               ขยะมูลฝอยรวมจังหวัดภูเก็ต







                 38    สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67