Page 66 -
P. 66
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการศึกษาการฟื้นตัวของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งช่วงวิกฤติการณ์โควิด-19 และแนวนโยบายเพื่อการใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(3) อ่าวมาหยา จังหวัดกระบี่
สถานการณ์ปริมาณขยะบริเวณอ่าวมาหยา ในปี พ.ศ. 2560 - 2563 พบว่าปริมาณขยะทั้งขยะบก
และขยะทะเลมีแนวโน้มลดลง (ดังตารางที่ 3.13) เนื่องด้วยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ประกาศไม่อนุญาตให้ประกอบกิจกรรมท่องเที่ยวหรือดำเนินกิจกรรมใด ๆ ในบริเวณพื้นที่อ่าวมาหยา
อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา เพื่อทำการ
ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่จึงไม่มีปริมาณขยะในพื้นที่
ตารางที่ 3.12 ปริมาณขยะในพื้นที่อ่าวมาหยา ปี พ.ศ. 2560 - 2563
ปริมาณขยะ (กิโลกรัม)
ประเภทขยะ
ปี พ.ศ. 2560 ปี พ.ศ. 2561 ปี พ.ศ. 2562 ปี พ.ศ. 2563
ขยะบก 3,522 1,623 - -
ขยะทะเล 606 499 - -
หมายเหตุ: ประกาศปิดอ่าวมาหยาตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561
ที่มา: อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี (2564)
(4) เกาะรอก จังหวัดกระบี่
4
สถานการณ์ปริมาณขยะทะเลในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา ในปี พ.ศ. 2560 – 2563 พบว่า
ปริมาณขยะมีทิศทางไม่แน่นอน มีปริมาณขยะมากขึ้นหรือลดลงขึ้นกับปัจจัยอื่น ๆ เช่น ในช่วงฤดูมรสุม
ประมาณเดือนสิงหาคมและกันยายนทำให้มีการพัดพาขยะมาในบริเวณเกาะรอกมากขึ้น เดือนตุลาคมจึงมี
การจัดกิจกรรมดำน้ำจัดเก็บขยะในทะเลเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเปิดฤดูการท่องเที่ยว แต่ในปี พ.ศ.
2563 พบว่า ปริมาณขยะทะเลมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน อาจจะเป็นผลมาจาก
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ทำให้กิจกรรมการท่องเที่ยวลดลง
ส่งผลให้ปริมาณขยะทะเลในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตามีปริมาณน้อย (ดังตารางที่ 3.13 และ
รูปที่ 3.9)
4
ไม่มีข้อมูลปริมาณขยะในพื้นที่เกาะรอก เนื่องจากไม่ได้จัดเก็บข้อมูลแยกรายสถานี
42 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย