Page 54 -
P. 54
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการศึกษาการฟื้นตัวของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งช่วงวิกฤติการณ์โควิด-19 และแนวนโยบายเพื่อการใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ตารางที่ 3.6 ปริมาณนักท่องเที่ยวในเกาะรอก ปี พ.ศ. 2560 - 2563
ปริมาณนักท่องเที่ยวในเกาะรอก (คน)
เดือน
ปี พ.ศ. 2560 ปี พ.ศ. 2561 ปี พ.ศ. 2562 ปี พ.ศ. 2563
มกราคม 544 16,259 14,264 14,380
กุมภาพันธ์ 2,179 19,648 14,358 8,473
มีนาคม 2,411 16,401 12,561 3,770
เมษายน 544 13,895 9,655 -
พฤษภาคม 2,179 4,059 2,270 -
มิถุนายน - - - -
กรกฏาคม - - - -
สิงหาคม - - - -
กันยายน - - - -
ตุลาคม 4,806 3,602 2,997 544
พฤศจิกายน 12,836 11,726 8,221 2,179
ธันวาคม 14,198 12,254 11,650 2,411
รวม 97,753 97,844 75,976 31,757
หมายเหตุ: - ปิดการท่องเที่ยวและพักแรมระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคมถึง 14 ตุลาคมของทุกปี ตาม
ประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เรื่อง ปิดการท่องเที่ยวและพักแรมใน
อุทยานแห่งชาติประจำปี (ฉบับที่ 2) ประกาศเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
ที่มา: อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา (2564)
3.1.5 เกาะลิบง จังหวัดตรัง
ปัจจุบันการท่องเที่ยวในจังหวัดตรัง เริ่มมีทิศทางที่ชัดเจนและเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวมากขึ้น
เนื่องจากมีชื่อเสียงที่แตกต่างจากแหล่งท่องเที่ยวอื่นอย่างชัดเจน มีอัตลักษณ์ด้านความสมบูรณ์ทาง
ธรรมชาติที่สวยงาม ความมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่ไม่เปลี่ยนแปลง รวมถึงการให้บริการ
แบบเจ้าบ้านที่ดี แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด เช่น ยางพาราต้นแรกของประเทศไทย อนุสาวรีย์
พระรัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี สถานีรถไฟกันตัง เกาะสุกร เกาะลิบง เกาะมุก - ถ้ำมรกต เกาะกระดาน
เกาะเชือก อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา และหาดปากเมง เป็นต้น
(สำนักงานจังหวัดตรัง, 2562)
30 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย