Page 53 -
P. 53
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 3
สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวและการฟื้นตัวของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในช่วงวิกฤติการณ์โควิด-19
ตารางที่ 3.5 ปริมาณนักท่องเที่ยวในอ่าวมาหยา ปี พ.ศ. 2560 - 2563
ปริมาณนักท่องเที่ยวในอ่าวมาหยา (คน)
เดือน ปี พ.ศ. 2560 ปี พ.ศ. 2561 ปี พ.ศ. 2562 ปี พ.ศ. 2563
มกราคม 93,946 111,793 29,090 31,440
กุมภาพันธ์ 100,253 107,215 25,998 18,144
มีนาคม 124,748 118,469 29,808 7,711
เมษายน 120,183 106,689 31,753
พฤษภาคม 108,113 96,906 30,392
มิถุนายน 114,049 38,006 30,950
กรกฏาคม 108,205 28,966 36,333 1,925
สิงหาคม 109,709 32,750 38,665 3,972
กันยายน 88,859 24,103 37,399 5,968
ตุลาคม 108,643 30,680 32,819 9,855
พฤศจิกายน 103,044 26,084 30,766
ธันวาคม 105,092 28,286 32,317
รวม 1,284,844 749,947 386,290 79,015
หมายเหตุ: ประกาศปิดอ่าวมาหยาตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561 แต่นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือชม
อ่าวมาหยาในบริเวณใกล้เคียงได้
ที่มา: อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี (2564)
3.1.4 เกาะรอก จังหวัดกระบี่
สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่เกาะรอก เขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา ในช่วงปี พ.ศ.
2560 - 2563 พบว่า มีจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเกาะรอกมากกว่า 1 หมื่นคนต่อเดือนโดยเฉพาะ
ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวเดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคมของทุกปี (ดังตารางที่ 3.6) ทั้งนี้ เริ่มมีนักท่องเที่ยวลด
น้อยลงตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมาจนกระทั่งไม่มีนักท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นช่วงปิดการท่องเที่ยวและ
พักแรมระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคมถึง 14 ตุลาคมของทุกปี ตามประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า
และพันธุ์พืช เรื่อง ปิดการท่องเที่ยวและพักแรมในอุทยานแห่งชาติประจำปี
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 29