Page 33 -
P. 33
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
9
1.4.2 แนวคิดในกำรประเมินผลกระทบ
แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่สามารถน ามาประยุกต์ใช้กับการประเมินผลกระทบนั้น ได้แก่ ส่วนเกิน
ทางเศรษฐกิจ (economic surplus) โดยสังคมในทางเศรษฐศาสตร์นั้นประกอบด้วยหน่วยเศรษฐกิจ 2
หน่วย ได้แก่ ผู้ผลิต และผู้บริโภค ดังนั้นการพิจารณาผลกระทบหรือผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์นั้นเป็น
การประเมินผลประโยชน์สุทธิที่หน่วยเศรษฐกิจทั้ง 2 ได้รับ ดังนั้นส่วนเกินทางเศรษฐกิจ (economic
surplus) จึงเป็นการพิจารณาผลประโยชน์ที่มีมูลค่าเหนือต้นทุนรวมของ ผลประโยชน์ที่ผู้ผลิตได้รับคือ
ส่วนเกินผู้ผลิต (producer’s surplus) และผลประโยชน์ที่ผู้บริโภคได้รับคือ ส่วนเกินผู้บริโภค
(consumer’s surplus) นั่นเอง (กัมปนาท, 2558) นอกจากนี้ในบางกรณีรายได้ของภาครัฐ เช่น ภาษีที่รัฐ
เรียกเก็บจากผลิตภัณฑ์จากกัญชา ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของส่วนเกินทางเศรษฐกิจเช่นกัน
ส าหรับงานวิจัยชิ้นนี้นั้นการวัดส่วนเกินทางเศรษฐกิจหรือการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงส่วนเกิน
ทางเศรษฐกิจนั้นวัดจากการเปลี่ยนแปลงของสวัสดิการสังคมจากผลประโยชน์สุทธิที่สังคมได้รับจากการ
อนุญาตให้มีการปลูกกัญชาอย่างถูกกฎหมาย ได้แก่ การผลิตยาต ารับปัจจุบัน และยาต ารับไทยที่ใช้กัญชา
เป็นองค์ประกอบ ซึ่งการวัดผลประโยชน์จากอนุญาตให้มีอุตสาหกรรมกัญชาถูกกฎหมายผ่านการ
เปลี่ยนแปลงผลผลิตหรือต้นทุน ซึ่งผลประโยชน์สุทธิที่เกิดขึ้นต่อสังคม จะอาศัยการวิเคราะห์จากฟังก์ชัน
อุปทานของผลิตภัณฑ์จากกัญชา จากนั้นจึงวัดผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการขยับเพิ่มขึ้นของเส้นอุปทาน
ดังภาพที่ 1.2 (กัมปนาท, 2558) (เนื่องจากกัญชานั้นยังไม่มีการอนุญาตให้ปลูกอย่างถูกกฎหมายใน
ประเทศไทย ท าให้ไม่สามารถมีข้อมูลด้านอุปสงค์และอุปทานได้ ดังนั้นเพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์นั้นได้มี
ข้อสมมติส าหรับเส้นอุปสงค์และอุปทานว่าอาจไม่มีความยืดหยุ่นเลย หรือความยืดหยุ่นเป็นอนันต์)
ราคา 0 1 ราคา
0
0
0
1
1
ปริมาณ ปริมาณ
0
1
0
ภาพที่ 1.2 การเปลี่ยนแปลงส่วนเกินทางเศรษฐกิจ กรณีอุปทานมีการเปลี่ยนแปลง
หมายเหตุ: เส้นอุปทานยาที่เกี่ยวข้องก่อนมีการอนุญาตให้ปลูกกัญชาอย่างถูกกฎหมาย
0
เส้นอุปทานยาที่เกี่ยวข้องหลังมีการอนุญาตให้ปลูกกัญชาอย่างถูกกฎหมาย
1
ที่มา: ปรับปรุงจากศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2558).