Page 42 -
P. 42

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
                 Theories of Marital and Family Therapy
            36



                     ความวิตกกังวลอย่างต่อเนื่องตามแนวคิดของ Bowen หมายถึงการตอบสนองอัตโนมัติ
            (automatic responses) ต่อสิ่งที่อาจเกิดขึ้น (what might occur) มากกว่าสิ่งที่เกิดขึ้น (What is

            actually happening)  ความวิตกกังวลอย่างต่อเนื่องเป็นสาเหตุหลักที่ท าให้เกิดโรคต่างๆทั้งทางกาย
            และทางจิต

                    แนวคิดที่ส าคัญทั้ง 8 นี้ประกอบไปด้วย

            [1]  ความสามารถในการแยกจากทางอารมณ์จากครอบครัวเดิม (Differentiation of self)

                         ความสามารถในการแยกจากทางอารมณ์จากครอบครัวเดิม หมายถึง ระดับ
                    ความสามารถที่บุคคลสามารถแก้ไขต่อความผูกพันทางอารมณ์ (emotional attachment) ที่
                    มีต่อครอบครัวเดิม (family of origin)  ซึ่งเกี่ยวข้องกับการที่บุคคลสามารถจัดการต่ออารมณ์

                    การตัดสินใจบนพื้นฐานการใช้เหตุผล และการแสดงจุดยืนความคิดเห็นหรือความรู้สึกของ
                    ตนเอง
                         บุคคลที่มีความสามารถในการแยกจากทางอารมณ์จากครอบครัวเดิมในระดับสูง จะมี

                    วุฒิภาวะทางอารมณ์ สามารถตัดสินใจโดยใช้เหตุผล และมีภาพตัวตนที่ชัดเจน สามารถเป็น
                    ตัวของตัวเองได้เมื่ออยู่ในกลุ่มหรือครอบครัว  ขณะที่บุคคลที่มีความสามารถในการแยกจาก
                    ทางอารมณ์จากครอบครัวเดิม จะไม่สามารถแยกทางอารมณ์จากครอบครัวเดิมได้ ท าให้มี

                    ภาพตัวตนไม่ชัดเจน และตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยอารมณ์   ตัวอย่างเช่น   คู่
                    สมรสที่มีระดับความสามารถในการแยกจากทางอารมณ์จากครอบครัวเดิมต ่าจะทะเลาะ
                    โต้เถียงกันบ่อยครั้ง เนื่องจากทั้งสองตอบสนองต่อกันและกันด้วยอารมณ์ แทนที่จะใช้เหตุผล
                          ั
                    แก้ไขปญหา
                         Bowen มีความเชื่อว่าบุคคลจะเลือกคู่ครองที่มีความสามารถในการแยกทางอารมณ์
                    จากครอบครัวเดิมในระดับเดียวกัน

            [2]  ความสัมพันธ์แบบสามเส้า(Triangles)

                         ความสัมพันธ์แบบสามเส้าเป็นแนวคิดในทฤษฏีระบบ และมีอยู่ในทุกครอบครัว
                    ในความสัมพันธ์ระหว่างสองบุคคล (dyad) เมื่อเกิดความเครียดระดับสูง ร่วมกับความกังวล

                    ระดับสูง ท าให้ระบบเกิดความไม่มั่นคง  บุคคลที่สามจะถูกดึงเข้ามาในระบบ เพื่อลดความ
                    กังวลและความเครียดที่เกิดขึ้น

            [3]  ระบบอารมณ์ของครอบครัวเดี่ยว (Nuclear family emotion process)

                           ระบบอารมณ์ของครอบครัวเดี่ยว อธิบายถึงกลไกที่สมาชิกในครอบครัวใช้ในภาวะที่
                    มีความวิตกกังวลสูง แบบแผนนี้จะด าเนินต่อไปจากรุ่นสู่รุ่น  โดยใช้กลไก 4 แบบ ได้แก่

                        1)  ความเหินห่างทางอารมณ์ระหว่างคู่สมรส (emotional distance between
                            spouses)
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47