Page 41 -
P. 41
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทฤษฏีการบ าบัดคู่สมรสและครอบครัว
35 5
การบ าบัดตามทฤษฏีระบบครอบครัวระหว่างรุ่น
(Intergenerational family system therapy)
การบ าบัดตามทฤษฏีระบบครอบครัวระหว่างรุ่น (Intergeneration family system
therapy) หรือ ทฤษฏีระบบของโบเวน (Bowen family system therapy) ผู้พัฒนาแนวทางการบ าบัด
คือ Murray Bowen ซึ่งมีแนวคิดว่าครอบครัวคือระบบอารมณ์ (Emotional system)
ซึ่งสมาชิกในครอบครัวแต่ละคนมีความเชื่อมโยงกันทางด้านอารมณ์ ระบบอารมณ์ของครอบครัว
ส่งผลต่อการกระท าของบุคคลและเป็นสาเหตุที่น าไปสู่การเกิดโรคทางจิตเวช
แนวคิดที่ส าคัญ
1. ครอบครัวคือระบบ และเป็นระบบของอารมณ์ (Family is an emotional system)
การเปลี่ยนแปลงส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบจะส่งผลต่อส่วนอื่นๆในระบบด้วย
ั
2. ปญหาที่บุคคลมีต่อครอบครัวเดิม (families of origin) ซึ่งเป็นความขัดแย้งทางอารมณ์ที่ยัง
ไม่สามารถแก้ไขได้ (Unresolved emotional issues) จะส่งผลต่อวิธีการที่บุคคลจัดการต่อ
ั
ปญหาและสถานการณ์ต่างๆในครอบครัวใหม่
3. ครอบครัวมีแบบแผน (family patterns) ซึ่งจะเกิดขึ้นซ ้าแล้วซ ้าอีกในสมาชิกแต่ละรุ่น
ดังนั้นผู้บ าบัดจึงต้องเก็บข้อมูลประวัติครอบครัวอย่างน้อยสามรุ่น
้
4. เปาหมายการบ าบัดคือการยกระดับความสามารถในการแยกทางอารมณ์จากครอบครัวเดิม
่
ของคู่สมรสแต่ละฝายให้สูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และมุ่งให้บุคคลเปลี่ยนแปลงตนเอง
แทนที่จะพยายามเปลี่ยนแปลงคู่สมรสของตน
ทฤษฏีระบบครอบครัวระหว่างรุ่น
การบ าบัดตามทฤษฏีระบบครอบครัวระหว่างรุ่น (Intergeneration family system
therapy)ของ Murray Bowen ประกอบไปด้วย 8 แนวคิดที่ส าคัญ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อว่า
มนุษย์มีความวิตกกังวลที่สะสมมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน (Chronic anxiety) โดยได้รับอิทธิพลมา
จากครอบครัวเดิม ได้มีการส่งต่อความวิตกกังวลนี้จากรุ่นสู่รุ่น ระดับของ Chronic anxiety มีผล
ต่อความสามารถในการแยกตนเองของสมาชิกในครอบครัวแต่ละคน (amount of differentiation of
้
family members) เปาหมายการบ าบัดจึงเป็นการยกระดับความสามารถในการแยกตนเองจาก
ครอบครัวเดิม
[Type text]