Page 43 -
P. 43

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
                                                            ทฤษฏีการบ าบัดคู่สมรสและครอบครัว
                                                                                            37



                        2)  ความไม่ลงรอยกันของคู่สมรส (marital discord)
                        3)  ความบกพร่องทางอารมณ์หรือความพิการด้านร่างกายของคู่สมรส (emotional or

                            physical disability in a spouse)
                        4)  การแสดงออกทันทีทันใดแบบเด็ก (acting out by a child)


            [4]  กระบวนการส่งต่อในครอบครัว (Family projection process)
                           พ่อแม่จะส่งต่อระดับความสามารถในการแยกทางอารมณ์จากครอบครัวเดิมของ
                                                                             ั
                    ตนเองต่อไปยังลูกอย่างน้อยหนึ่งคนหรือมากกว่านั้น   นอกจากนี้ปญหาของพ่อแม่จะถูก
                    ถ่ายทอดไปยังลูกด้วย
                           Deniel Papero นักบ าบัดตามทฤษฏีระบบของโบเวน ได้อธิบายเสริมว่า ลูกบางคน

                    อาจมีระดับความสามารถในการแยกทางอารมณ์จากครอบครัวเดิมสูงกว่าพ่อแม่ และบางคน
                    อาจต ่ากว่าก็เป็นได้ (Papero, 1995 อ้างถึงใน Rasheed et al., 2011)

            [5]  กระบวนการสืบทอดจากบรรพบุรุษ (Multigenerational transmission process)

                           การตอบสนองทางอารมณ์ทั้งลักษณะและระดับความเข้มข้นในการตอบสนองทาง
                    อารมณ์   ความบกพร่องทางจิตใจ (และ/หรือ ร่างกาย)   จะเกิดขึ้นซ ้าๆและถูกส่งต่อจากรุ่น
                    สู่รุ่น    Bowen เสนอว่า เมื่อบุคคลเลือกคู่ครอง ก็จะเลือกผู้ที่มีความสามารถในการแยกจาก
                                                                                     ่
                    ทางอารมณ์จากครอบครัวเดิมในระดับเดียวกัน   หากคู่สมรสทั้งสองฝายมีระดับ
                    ความสามารถในการแยกทางอารมณ์จากครอบครัวเดิมต ่า ลูกก็จะมีระดับความสามารถใน
                    การแยกทางอารมณ์จากครอบครัวเดิมต ่ากว่าพ่อแม่   และกระบวนการนี้ด าเนินต่อไปอีก

                    หลายรุ่นให้หลัง จนกระทั่งเกิดเป็นความผิดปกติ เช่น โรคจิตเภท  โรคติดสุราเรื้อรัง โรค
                    อารมณ์สองขั้ว รวมถึงโรคทางกายต่างๆ   ซึ่งอาจใช้ระยะเวลาส่งต่อความผิดปกติเหล่านี้
                    ประมาณ 8-10 รุ่น (Papero, 1990 อ้างถึงใน Rasheed et al., 2011)

            [6]  ล าดับและสถานะของพี่น้อง (Sibling position)

                            Bowen ได้รับแนวคิดนี้มาจากการวิจัยของ Walter Toman ในปีค.ศ. 1961  ซึ่ง
                    สรุปว่าล าดับการเกิดและเพศของพี่น้องในครอบครัวเดิมมีผลต่อบุคลิกภาพและความสัมพันธ์
                    ระหว่างบุคคล  เช่น คู่สมรสที่สามีเป็นพี่คนโต ภรรยาเป็นน้องคนเล็ก มีโอกาสหย่าร้างต ่า

                    กว่าคู่ที่ทั้งสามีภรรยาเป็นพี่คนโตทั้งคู่

            [7]  การตัดขาดทางอารมณ์ (Emotional cutoff)
                           บุคคลที่เลือกจัดการความขัดแย้งทางอารมณ์ที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ (Unresolved

                    emotional) ที่มีต่อครอบครัวเดิมโดยการตัดขาดจากครอบครัวเดิม ทั้งทางด้านอารมณ์
                    (emotional isolation) และทางด้านร่างกาย (physical distance)


 [Type text]
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48