Page 204 -
P. 204
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทคัดย่อ
ผลของวัสดุอินทรีย์ที่มีเมเลียซินเป็นองค์ประกอบในการยับยั้งกระบวนการไนตริฟิเคชั่น (Nitrification) ของปุ๋ย
ไนโตรเจน ด้วยการปลูกข้าวโพดหวานในพื้นที่ดินร่วนเหนียว ที่ศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชลพบุรี จังหวัดลพบุรี และในพื้นที่ดิน
ร่วนปนทราย แปลงเกษตรกร ตำบลเกาะเทโพ อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี ในปีที่ 1 วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ
5 กรรมวิธี พบว่า ในพื้นที่ดินร่วนเหนียว การใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 15-5-5 N-P 2O 5-K 2O กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับกากสะเดา 3.8
กิโลกรัม/ไร่ ให้ผลผลิตสูงสุด รองลงมาคือการใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 20-5-5 N-P 2O 5-K 2O กิโลกรัม/ไร่ และ 20-5-5
N-P 2O 5-K 2O กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับกากสะเดา 3.8 กิโลกรัม/ไร่ และในพื้นที่ดินร่วนปนทราย พบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา
20-5-10 N-P 2O 5-K 2O กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับกากสะเดา 3.8 กิโลกรัม/ไร่ ให้ผลผลิตสูงสุด รองลงมาคือ การใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา
15-5-10 N-P 2O 5-K 2O กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับกากสะเดา 3.8 กิโลกรัม/ไร่ และการใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 20-5-10 N-P 2O 5-K 2O
กิโลกรัม/ไร่
ในปีที่ 2 วางแผนการทดลองแบบ Split plot จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วยปัจจัยหลัก 3 กรรมวิธี และปัจจัยรอง 4
กรรมวิธี พบว่า ในพื้นที่ดินร่วนเหนียว ปัจจัยหลักไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ โดยการใส่กากสะเดา 3.8 กิโลกรัม/ไร่
ให้ผลผลิตสูงสุด รองลงมาคือการใส่กากสะเดา 19 กิโลกรัม/ไร่ และการไม่ใส่กากสะเดา ในขณะที่ปัจจัยรองมีความแตกต่าง
กันทางสถิติ โดยการใส่ปุ๋ยอัตรา 20-5-5 N-P 2O 5-K 2O กิโลกรัม/ไร่ ให้ผลผลิตสูงสุด รองลงมาคือ การใส่ปุ๋ยอัตรา 15-5-5
N-P 2O 5-K 2O กิโลกรัม/ไร่ และ 10-5-5 N-P 2O 5-K 2O กิโลกรัม/ไร่ และในพื้นที่ดินร่วนปนทราย ปัจจัยหลักและปัจจัยรองไม่มี
ความแตกต่างกันทางสถิติ โดยปัจจัยหลักการใส่กากสะเดา 19 กิโลกรัม/ไร่ ให้ผลผลิตสูงสุด ส่วนปัจจัยรองการใส่ปุ๋ย 20-5-10
N-P 2O 5-K 2O กิโลกรัม/ไร่ ให้ผลผลิตสูงสุด
สรุปได้ว่าในพื้นที่ดินร่วนเหนียวควรใช้กากสะเดา 3.8 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 15-5-5 N-P 2O 5-K 2O
กิโลกรัม/ไร่ สามารถลดการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนลดลง 25 เปอร์เซ็นต์ตามคำแนะนำการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ส่วนในดินร่วน
ปนทรายควรใส่กากสะเดา 9 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 20-5-10 N-P 2O 5-K 2O กิโลกรัม/ไร่ สามารถเพิ่ม
ประสิทธิภาพการผลิตได้ใกล้เคียงกับการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินเพียงอย่างเดียว
คำสำคัญ : วัสดุอินทรีย์ เมเลียซิน กระบวนการไนตริฟิเคชั่น กากสะเดา
คำนำ
ปุ๋ยเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญทางการเกษตร ในปัจจุบันการใช้ปุ๋ยเคมียังไม่มีประสิทธิภาพทำให้เกิดการสูญเสีย
หรือใช้มากเกินความต้องการของพืชซึ่งเป็นการสูญเสียโดยเปล่าประโยชน์ ทำให้เกษตรกรมีรายจ่ายสูง ดังนั้นการใช้ปัจจัยการ
ผลิตทางด้านปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการผลิตพืชและเหมาะสมต่อสภาพพื้นที่จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง การใส่
ปุ๋ยอินทรีย์หรือวัสดุอินทรีย์เป็นการเติมอินทรียวัตถุให้กับดินช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินและเพิ่มประสิทธิภาพการดูด
ซับธาตุอาหารพืชได้อีกทางหนึ่ง ในการเพิ่มประสิทธิภาพการดูดใช้ธาตุอาหารพืช การลดการสูญเสียธาตุอาหารโดย
กระบวนการต่างๆ จำเป็นต้องมีการศึกษาหาวัสดุอินทรีย์ที่มีสมบัติในการยับยั้งกระบวนการไนตริฟิเคชัน (nitrification
inhibitors) เพื่อเป็นการยืนยันหรือรับรองได้ว่าการจัดการเหล่านั้นสามารถนำไปใช้ได้จริงแม้จะมีการใช้ที่ดินอย่างต่อเนื่องเป็น
ระยะเวลายาวนานอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ก็จะเป็นการเพิ่มผลผลิตต่อไร่และคุณภาพของพืชให้สูงขึ้นได้
กระบวนการไนตริฟิเคชั่น (Nitrification) คือ กระบวนการออกซิไดซ์แอมโมเนียมไอออนหรือก๊าซ
แอมโมเนีย ภายใต้สภาวะที่ใช้ออกซิเจนกลายเป็นไนเตรท ซึ่งสามารถสูญหายได้ง่ายโดยการชะล้าง ดังนั้นจึงต้องยืดระยะเวลา
ให้ไนโตรเจนอยู่ในรูปแอมโมเนียมในดินให้ได้นานมากยิ่งขึ้น โดยการใช้สารยับยั้งไนตริฟิเคชัน (nitrification inhibitors)
การผลิตปุ๋ยละลายช้าในเชิงการค้ามีราคาแพงมาก เช่น ยูเรียเคลือบกำมะถัน (Sulfur coated urea ) และปุ๋ย NPK เคลือบ
โพลิเมอร์ ที่ใช้กับสนามกอล์ฟและไม้ดอกไม้ประดับ อนึ่งในประเทศอินเดียได้ทำการศึกษาการเคลือบเม็ดปุ๋ยยูเรียด้วยวัสดุ
ต่างๆ เช่น ครั่ง แชลแล็ด หินฟอสเฟต ยิบซั่ม ฯลฯ แต่ปรากฎว่า ต้นทุนการผลิตสูงกว่าการใช้ยูเรียธรรมดา 10 -15%
(Tandon, 1987) การผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิตจริงๆ จะต้องผสมกับวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น กากสะเดา เปลือกมังคุด
ฯลฯ ซึ่งมีสมบัติยังยั้ง nitrification (เรวดี, 2543 ; มะลิวัลย์, 2541) สุริยา และคณะ (2543) วิเคราะห์หาปริมาณธาตุอาหาร
พืชจากกากสะเดาพบว่า มีปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด 5.18 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 0.46 เปอร์เซ็นต์ และโพแทสเซียม 0.88
196