Page 205 -
P. 205
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้กากสะเดายังมีธาตุอาหารรองอีกหลายธาตุ จากการศึกษาการปลดปล่อยธาตุไนโตรเจนจากกากสะเดา
ในสภาพดินนาพบว่า กากสะเดาปลดปล่อยแอมโมเนียมได้ 44.1 เปอร์เซ็นต์ และในสภาพดินไร่ปลดปล่อยไนโตรเจนปริมาณ
28.5 เปอร์เซ็นต์ จากการทดสอบใช้กากสะเดาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดแล้วนำไปใช้กับมันเทศ ข้าว ข้าวโพดและผักคะน้า
พบว่า การใช้กากสะเดาในอัตรา 20-40 กรัมต่อต้น สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิตของพืชทดสอบได้ดี
เท่ากับการใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 ในอัตรา 6.6 กรัมต่อต้น กากสะเดาไม่เพียงแต่มีประโยชน์ในการปลดปล่อยธาตุอาหาร
ให้แก่พืชแต่ยังควบคุมการเกิดไส้เดือนฝอย ยับยั้งกระบวนการไนตริฟิเคชัน (Nitrification) ทำให้ลดการสูญเสียไนโตรเจนได้
เนื่องจากกากสะเดามีสารในกลุ่ม เมเลียซิน (meliacins) ได้แก่ epinimbin, nimbin, desacetyl nimbin, salanin,
desacetyl salanin และ azadirachtin ที่ช่วยยับยั้งกิจกรรมของแบคทีเรียในกระบวนการไนตริฟิเคชัน นอกจากนี้ยังมีการนำ
กากสะเดามาเคลือบปุ๋ยเคมีให้มีคุณสมบัติเป็นปุ๋ยละลายช้าเพื่อให้มีการปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาสมํ่าเสมอและต่อเนื่อง
เป็นเวลานาน ยืดระยะเวลาให้ไนโตรเจนอยู่ในรูปแอมโมเนียมในดินได้นานมากขึ้นทำให้พืชได้รับธาตุอาหารอย่างเพียงพอและ
ต่อเนื่องตลอดช่วงอายุของพืช (จารุวรรณ และคณะ, 2556; ธงชัย และคณะ, 2554)
วิธีดำเนินการ
อุปกรณ์
1. กากสะเดา
2. เมล็ดข้าวโพดหวาน พันธุ์ไฮบริกซ์ 3
3. ปุ๋ยเคมี 46-0-0 0-46-0 และ 0-0-60
4. อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ เช่น ขวดแก้ว ตู้บ่ม
วิธีการ
การศึกษาผลการใช้กากสะเดาคลุกกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของข้าวโพดที่ปลูกในดิน
ร่วนเหนียว ปีที่ 1
แปลงทดลองดินร่วนเหนียว ที่ศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชลพบุรี จังหวัดลพบุรี ผลการวิเคราะห์ดินมี
ปริมาณอินทรียวัตถุ 1.22 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 95.37 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และโพแทสเซียมที่
แลกเปลี่ยนได้ 128.95 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จะต้องใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเท่ากับ 20-5-5 N-P 2O 5-K 2O กิโลกรัมต่อไร่
ปลูกข้าวโพดขนาดแปลงทดลอง 6x6 เมตร โดยใช้ระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 25 เซนติเมตร
ขนาดพื้นที่เก็บเกี่ยว 22.5 ตารางเมตร ปลูกวันที่ 25 มกราคม 2560 การใส่ปุ๋ยเคมี แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่หลังปลูก
10-14 วัน โดยใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและกากสะเดา ½ อัตราในแต่ละกรรมวิธีร่วมกับปุ๋ยฟอสเฟต และปุ๋ยโพแทชตามอัตราที่
แนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน และใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนและกากสะเดา ½ อัตราในแต่ละกรรมวิธี หลังปลูก 21-30
วัน เมื่อดินมีความชื้นพอเหมาะ เก็บเกี่ยววันที่ 4 เมษายน 2561 โดยนำกากสะเดามาคลุกกับปุ๋ยไนโตรเจน ตามกรรมวิธี
วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 5 กรรมวิธี 4 ซ้ำ ประกอบด้วย
1) ใส่ปุ๋ยอัตรา 0-5-5 N-P 2O 5-K 2O กิโลกรัม/ไร่
2) ใส่ปุ๋ยอัตรา 10-5-5 N-P 2O 5-K 2O กิโลกรัม/ไร่ + กากสะเดา 3.8 กิโลกรัม/ไร่
3) ใส่ปุ๋ยอัตรา 15-5-5 N-P 2O 5-K 2O กิโลกรัม/ไร่ + กากสะเดา 3.8 กิโลกรัม/ไร่
4) ใส่ปุ๋ยอัตรา 20-5-5 N-P 2O 5-K 2O กิโลกรัม/ไร่ + กากสะเดา 3.8 กิโลกรัม/ไร่
5) ใส่ปุ๋ยอัตรา 20-5-5 N-P 2O 5-K 2O กิโลกรัม/ไร่ + กากสะเดา 3.8 กิโลกรัม/ไร่
แปลงทดลองดินร่วนปนทราย จ.อุทัยธานี ผลการวิเคราะห์ดินมีปริมาณอินทรียวัตถุ 1.22 เปอร์เซ็นต์
ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 42.07 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ 98.12 มิลลิกรัมต่อ
กิโลกรัม จะต้องใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเท่ากับ 20-5-10 N-P 2O 5-K 2O กิโลกรัมต่อไร่ ปลูกข้าวโพดขนาดแปลงทดลอง
6x6 เมตร โดยใช้ระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 25 เซนติเมตร ขนาดพื้นที่เก็บเกี่ยว 22.5 ตารางเมตร
ปลูกวันที่ 23 มกราคม 2560 การใส่ปุ๋ยเคมี แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่หลังปลูก 10-14 วัน โดยใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและกาก
สะเดา ½ อัตราในแต่ละกรรมวิธีร่วมกับปุ๋ยฟอสเฟต และปุ๋ยโพแทชตามอัตราที่แนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน และใส่ปุ๋ยครั้ง
197