Page 9 -
P. 9
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทคัดยอ
โครงการวิจัยเรื่อง “การบริหารจัดการพื้นที่สูง : ปริทัศนสถานภาพความรู มีวัตถุประสงค 6 ประการ
คือ (1) เพื่อรวบรวมนโยบายของรัฐในการบริหารจัดการพื้นที่สูงจากอดีตถึงปจจุบัน (2) เพื่อรวบรวมผล
การศึกษา แนวคิด และขอเสนอของนักวิชาการ และสถาบันตางๆ ในการบริหารจัดการพื้นที่สูงจากอดีตถึง
ปจจุบัน (3) เพื่อรวบรวมโครงการพัฒนาพื้นที่สูงทั้งที่ดําเนินการโดยภาครัฐ มูลนิธิ และภาคเอกชนจากอดีตถึง
ปจจุบัน (4) ทบทวนประสบการณนานาชาติในการจัดการพื้นที่สูง รวมทั้งขอตกลงในอนุสัญญา และปฎิญญาที่
เกี่ยวของกับชนเผาในพื้นที่สูง (5) เพื่อรวบรวมปญหาและอุปสรรคในการพัฒนาพื้นที่สูงของหนวยงานและ
สถาบันตางๆ (6) เพื่อถอดบทเรียนการบริหารจัดการพื้นที่สูงทั้งที่ประสบความสําเร็จ และไมประสบ
ความสําเร็จตามเปาหมายเพื่อเปนแนวทางที่จะนําไปกําหนดนโยบายในอนาคต
จากการทบทวนวรรณกรรมและการสัมภาษณเจาหนาที่ของรัฐในพื้นที่ศึกษาพบวามีปญหาที่สําคัญ
7 ประการ ไดแก (1) การตัดไมทําลายปา (2) การปลูกฝน (3) การชะลางพังทลายของดิน (4) ดินถลม
(5) ปญหาชาวเขา (6) ปญหาการประกอบอาชีพของประชากรบนพื้นที่สูง และ(7) ปญหาสิ่งแวดลอม
เพื่อแกปญหาดังกลาวไดมีโครงการพัฒนาพื้นที่สูงมาอยางตอเนื่อง ผลจากการบริหารจัดการพื้นที่สูงเปนเวลา
60 ปเศษ ที่ผานมานั้น พื้นที่สูงภายใตโครงการตามพระราชดําริ โครงการพัฒนาของมูลนิธิโครงการหลวง
มูลนิธิปดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดําริ โครงการรักษน้ําเพื่อพระแมของแผนดิน และโครงการพัฒนาที่
ดําเนินการโดยสวนราชการตางๆ นั้น ไดแกไขปญหาทั้ง 7 ประการของพื้นที่สูงในโครงการดังกลาวขางตนจน
ประสบความสําเร็จ บางโครงการอยูในระหวางดําเนินการตามลําดับของขั้นตอน
อยางไรก็ตามพื้นที่สูงที่ยังไมมีโครงการพัฒนาเขาไปดําเนินการนั้นยังมีอีกจํานวนมาก จึงยังคงมีปญหา
ทั้ง 7 ประการอยูในปจจุบันซึ่งปญหาที่มีอยูอาจจะแตกตางกันออกไปในแตละพื้นที่ จากการปริทัศนสถานภาพ
ความรูในการบริการจัดการพื้นที่สูง ไดมีการถอดบทเรียนเพื่อเปนแนวทางที่จะนําไปกําหนดนโยบายในอนาคต
10 ประการ คือ (1) ขาดแผนแมบทการพัฒนาพื้นที่สูงทั้งประเทศ (2) ขาดคณะกรรมการประสานงานการ
พัฒนาพื้นที่สูงในภาพรวม (3) การกําหนดนโยบายพัฒนาการเกษตรและการใชที่ดินที่มีวัตถุประสงคเฉพาะดาน
มีผลกระทบตอพื้นที่สูง (4) มีการกําหนดนโยบายแตไมมีแผนปฏิบัติและการปฏิบัติลาชาไมสามารถรองรับ
ปญหาที่เกิดขึ้นได (5) ขาดระบบฐานขอมูลการบริหารจัดการพื้นที่สูง (6) ปญหาการขาดแคลนน้ําบนพื้นที่สูง
จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น (7) ปญหาหมอกควันในชวงฤดูแลง จะไมสามารถแกไขไดหากไมเปลี่ยนระบบการปลูก
พืชไร หรือระบบไรหมุนเวียนเนื่องจากตองมีการเตรียมพื้นที่เพื่อการปลูกพืช (8) ควบคุมการทองเที่ยวเชิงนิเวศ
บนพื้นที่สูงตามความสามารถในการรองรับของพื้นที่ (Carrying Capacity) (9) โครงการจัดที่ดินทํากินใหชุมชน
ตามนโยบายรัฐบาลภายใตคณะกรรมการนโยบายที่ดินแหงชาติ (คทช.) เปนตัวอยางที่ควรนําไปใชในโครงการ
จัดที่ดินทํากินบนพื้นที่สูงในอนาคต และ (10) การพัฒนาพื้นที่สูงโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีชนเผาอาศัยและทํากิน
อยูนั้น หลักเกณฑและวิธีการของมูลนิธิโครงการหลวงจะเปนตนแบบในการขยายผลที่ดีที่สุดในประเทศไทย
ช