Page 28 -
P. 28

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       1-2


               1.2 วัตถุประสงค

                       1. เพื่อรวบรวมนโยบายของรัฐในการบริหารจัดการพื้นที่สูงจากอดีตถึงปจจุบัน
                       2. เพื่อรวบรวมผลการศึกษา แนวคิด และขอเสนอของนักวิชาการ และสถาบันตางๆ ในการบริหาร
               จัดการพื้นที่สูงจากอดีตถึงปจจุบัน
                       3. เพื่อรวบรวมโครงการพัฒนาพื้นที่สูงทั้งที่ดําเนินการโดยภาครัฐ มูลนิธิ และภาคเอกชนจากอดีตถึง

               ปจจุบัน
                       4. ทบทวนประสบการณนานาชาติในการจัดการพื้นที่สูง รวมทั้งขอตกลงในอนุสัญญา และปฎิญญาที่
               เกี่ยวของกับชนเผาในพื้นที่สูง
                       5. เพื่อรวบรวมปญหาและอุปสรรคในการพัฒนาพื้นที่สูงของหนวยงานและสถาบันตางๆ

                       6. เพื่อถอดบทเรียนการบริหารจัดการพื้นที่สูงทั้งที่ประสบความสําเร็จ และไมประสบความสําเร็จตาม
               เปาหมายเพื่อเปนแนวทางที่จะนําไปกําหนดนโยบายในอนาคต

               1.3 ระเบียบวิธีวิจัย

                       1.3.1 ขอบเขตการศึกษา
                              (1) จะเปนการรวบรวมนโยบายของรัฐ ผลการศึกษา แนวคิดและขอเสนอของนักวิชาการ

               และสถาบันตางๆ โครงการพัฒนา ปญหาและอุปสรรคของโครงการพัฒนา ประสบการณนานาชาติ ขอตกลง
               ในอนุสัญญาและปฎิญญา
                              (2) สํารวจขอมูลปฐมภูมิทั้งดานกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม ในพื้นที่ 12 จังหวัด คือ
               เชียงใหม นาน เชียงราย ชัยภูมิ ขอนแกน อุทัยธานี กาญจนบุรี เพชรบุรี  สุราษฎรธานี นครศรีธรรมราช ตรัง

               และกระบี่ แลวสังเคราะหเพื่อถอดเปนบทเรียนทั้งโครงการพัฒนาที่ประสบความสําเร็จและไมประสบ
               ความสําเร็จตามเปาหมาย เพื่อเปนแนวทางที่จะนําไปกําหนดนโยบายในอนาคต
                              ทั้งนี้มีขอบเขตของระยะเวลารวม 13 ระยะ คือ
                                     ระยะที่ 1  กอนมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ

                                     ระยะที่ 2  ถึงระยะที่ 13 ภายหลังมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ
               ฉบับที่ 1 – ฉบับที่ 12

                       1.3.2 วิธีดําเนินการวิจัย

                              (1) กรอบแนวคิดในการศึกษา
                              รัฐไดกําหนดนโยบายในการบริหารจัดการพื้นที่สูงมานานกวาหกทศวรรษ และดําเนิน
               โครงการพัฒนามาอยางตอเนื่องทั้งโดยหนวยงานของรัฐ มูลนิธิ และภาคเอกชน นอกจากนี้ไดมีการศึกษาและ
               ขอเสนอของนักวิชาการและสถาบันตางๆ ทั้งดานกายภาพ เศรษฐกิจและสังคมจํานวนมากที่เนนหนักไป

               เกี่ยวกับชาวเขาในพื้นที่ภาคเหนือถึงปจจุบันปญหาพื้นที่สูงไดเกิดขึ้นทั่วประเทศ ทั้งการบุกรุกทําลายปาตนน้ํา
               ลําธาร สงผลตอการเกิดการชะลางพังทลายของดินและภัยพิบัติตางๆ เชน ดินถลม สรางความสูญเสียแกชีวิต
               และทรัพยสิน ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก ซึ่งคาดการณวาจะเกิดภัยพิบัติที่รุนแรงยิ่งขึ้น
               นโยบายที่กําหนดไวในอดีตจึงควรมีการทบทวนและจัดทําขึ้นใหมเพื่อรองรับสถานการณดังกลาว อยางไรก็ตาม

               กอนมีการจัดทํานโยบายขึ้นใหมนั้น ควรมีการรวบรวมนโยบายของรัฐในอดีต รวมทั้งผลการศึกษาของ
               นักวิชาการและสถาบันตางๆ ตลอดจนปญหาและอุปสรรคในการดําเนินโครงการพัฒนาตางๆ แลวจัดทําให
               เปนระบบเสียกอนเพื่อนําไปใชประกอบในการตัดสินใจจัดทํานโยบายขึ้นใหมในอนาคต
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33