Page 22 -
P. 22

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                       แรงงานประสิทธิภาพต่ำมากขึ้นเรื่อยๆ ในทางตรงขาม หากพิจารณาปญหาการสะสมหนี้ในกลุม

                       ผูสูงอายุนอกภาคเกษตร แนนอนวาปญหาดังกลาวก็ยอมมีใหเห็นเชนเดียวกัน แตคนกลุมนี้มีตาขาย
                       สังคมที่คอนขางแข็งแรงคอยรองรับ ทั้งในรูปของเงินบำนาญ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จ

                       บำนาญขาราชการ และประกันสังคม เปนตน ดังนั้นความเหลื่อมล้ำในมิติตางๆ เชน รายได การ

                       บริโภค และหนี้สิน จึงไมนารุนแรงเทากับกรณีเกษตรกรสูงอายุ ประการที่สอง จำนวนเงินกูที่
                       เกษตรกรสูงอายุสามารถกูยืมเพื่อนำมาเปนคาใชจายในครัวเรือนถูกจำกัดดวยเงื่อนไขดานอายุ รายได

                       และทรัพยสิน เงื่อนไขเหลานี้เปนเสมือนกำแพงที่สูงลิบสำหรับเกษตรกรสูงวัยหากจำเปนตองกูเงิน
                       จำนวนมาก หากภาระหนี้สะสมมากขึ้นถึงจุดที่ไมสามารถชำระคืนได การทยอยขายทรัพยสินออกไป

                       เพื่อสรางสภาพคลองทางการเงินก็ปรากฏใหเห็นทั่วไป โดยเฉพาะอยางยิ่งการขายหรือนำที่ดินไป

                       จำนอง แตเนื่องจากที่ดินถือเปนปจจัยในการผลิตทางการเกษตรที่สำคัญที่สุด การสูญเสียที่ดินจึงทำ
                       ใหเกษตรกรจำนวนไมนอยตองกลายเปนผูไรที่ทำกิน หรือตองกลายสภาพเปนผูเชาที่ดินที่ครั้งหนึ่งตน

                       เคยเปนเจาของ และสุดทายก็ตองวนเวียนอยูในวงจรความยากจนอยางไมรูจักจบสิ้น
                              เนื่องจากแรงงานสูงอายุจำนวนมากยังคงอยูในภาคเกษตร และสวนมากเปนแรงงานที่มี

                       ทักษะและรายไดต่ำ ดังนั้นการลดลงของประสิทธิภาพการผลิตและชองวางของความเหลื่อมล้ำทาง

                       เศรษฐกิจในภาคเกษตรจะทวีความรุนแรงกวาภาคธุรกิจอื่น และการเปลี่ยนแปลงโครงสรางการผลิต
                       ดังกลาวจะมีบทบาทสำคัญมากตอการพัฒนาเศรษฐกิจในชนบทของไทยในอนาคต ดังนั้น การ

                       วางแผนเชิงนโยบายของภาครัฐเพื่อรองรับการการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่คาดวาจะเกิดขึ้นจึงมี

                       ความจำเปนอยางยิ่ง การศึกษาที่เนนการวิเคราะหเชิงลึกโดยอาศัยกรอบแนวคิดทางเศรษฐศาสตรซึ่ง
                       ใหผลลัพธเปนตัวชี้วัดเชิงปริมาณที่ชัดเจนควรมีมากขึ้น เพื่อใหการกำหนดยุทธศาสตรเชิงนโยบายทำ

                       ไดงายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แตในปจจุบัน กลับพบวางานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบทาง
                       เศรษฐกิจของการเขาสูสังคมผูสูงอายุในประเทศไทยนั้นมีนอยมาก ขณะที่การศึกษาถึงผลกระทบใน

                       เชิงลึกระดับครัวเรือนในภาคเกษตรแทบไมปรากฏ

                              งานวิจัยฉบับนี้จะเติมเต็มชองวางดังกลาวนี้ โดยจะเนนศึกษาผลกระทบของการเขาสูสังคมผู
                       สูงวัยตอการผลิตและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของครัวเรือนเกษตรในชนบทของไทย ขอมูลดาน

                       เศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนซึ่งถูกบันทึกในลักษณะขอมูลครัวเรือนแบบภาคตัดขวางขาม
                       ชวงเวลา (Panel data) ถูกนำมาใชวิเคราะหดวยแบบจำลองเศรษฐมิติเพื่อตอบโจทยดังกลาว โดย

                       อาศัยขอมูลจากฐานขอมูล The Townsend Thai Project แตเนื่องจากกลุมตัวอยางที่ใชวิเคราะหไม

                       ไดมาจากการสำรวจทั้งประเทศ ดังนั้น งานวิจัยนี้จะมีการนำเสนอขอมูลสถิติที่เกี่ยวกับการ
                       เปลี่ยนแปลงดานสังคมและเศรษฐกิจของครัวเรือนเกษตรจากการสำรวจสำมะโนการเกษตรควบคูไป

                       กับขอมูลสถิติที่ไดจากฐานขอมูล The Townsend Thai Project ดวย













                                                               1-3
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27