Page 39 -
P. 39
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
20 Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)
ให้ทีละ 2-3 ชามต่อคน หลังจากนั้นก็น ามาให้พวกเรา
รับประทานอีก 50 กว่าถาด...
อาหารที่ใส่ชามแก้วนั้น มีจานรองและมีฝาปิดมิดชิด
เพราะอากาศแถวนั้นร้อนอบอ้าว จึงเป็นประเพณีของไทยที่จะ
ตั้งหม้ออาหารร้อนไว้ไกลแขกและตักมาให้ทีละชาม เมื่อเรา
รับประทานกันจนอิ่มหน าส าราญและคนใช้ยกอาหารออกไป
หมดแล้ว เสมียนในคณะราชทูตจึงสวดมนต์ชมบูชาพระเจ้าผู้มี
พระคุณที่แท้จริงแล้วจึงภาวนาให้แก่พระเจ้ากรุงสยาม
ข้าราชการของพระเจ้ากรุงสยามที่ร่วมรับประทาน
อาหารกับเรานั่นคือเสนาบดีฮาจิ ฮาซัน อาลี ยามทหารแขก
สองคน หมอ เสมียน และเลขานุการ มีคนไทยอยู่ในกลุ่ม
เหมือนกัน แต่คนที่รับใช้พวกเราทั้งหมดนั้นเป็นแขกอิหร่าน
(วิบูล วิจิตรวาทการ, 2544, น. 220)
จากบันทึกของราชทูตอิหร่านท าให้เห็นธรรมเนียมการกินอาหารแบบ
เปอร์เชีย (อิหร่าน) ที่ต้องนั่งบนเก้าอี้หรือเบาะเตี้ยๆ มีโต๊ะเตี้ยๆ วางอาหาร และใช้
ถ้วยชามมากมายในการใส่อาหารที่จัดมาเป็นส ารับ ไม่มีรายการอาหารไทยในงาน
เลี้ยงราชทูต มีแต่อาหารจีนและอาหารของชาตินั้นๆ ซึ่งแสดงถึงความเอาใจใส่ของ
เจ้าภาพที่พยายามสรรหาอาหารตามธรรมเนียมของชาตินั้นๆ มาเลี้ยง และแม้ว่า
คณะทูตจะระบุว่าสมเด็จพระนารายณ์โปรดอาหารแขก มีพ่อครัวเป็นแขกอินเดีย แต่
ก็ไม่มีหลักฐานว่าอาหารแขกแบบใดที่โปรด เป็นไปได้ว่าราชส านักไทยตั้งแต่สมัยสมเด็จ
พระนารายณ์คงจะคุ้นเคยกับอาหารแขกแล้ว
ช. ในบันทึกต่างๆ ไม่มีรายละเอียดพระกระยาหารของพระเจ้าแผ่นดินกรุง
ศรีอยุธยาเพราะมิได้มีธรรมเนียมให้ร่วมโต๊ะเสวย มีบันทึกเพียงแค่ว่าเป็นของโอชารส
แต่ข้อความดังกล่าวกลับสะท้อนว่าตามจารีตเดิมนั้นเจ้านายเสวยเครื่องดื่มได้เฉพาะ
น ้าและน ้ามะพร้าว น ้าจัณฑ์เป็นของต้องห้าม แต่ต่อมาจารีตนี้เริ่มเสื่อมลง ดังปรากฏ
ในบันทึกของฟาน ฟลีตและลาลูแบร์ที่สอดคล้องกันว่า