Page 18 -
P. 18

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                                    ปที่ 19 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2555)   7

                                                                  1
                ลักษณะทางภาษาที่บงชี้การเวนระยะหางจากผูฟงหรือผูอาน
                       ผลการวิเคราะหหาลักษณะทางภาษาที่ทําใหภาษากฎหมาย ภาษา
                การเมือง ภาษาสื่อ และภาษาวิชาการของไทยมีลักษณะเวนระยะหางจากผูฟงหรือ
                ผูอาน หรือมีลักษณะสนิทสนม  พบตัวบงชี้ 3 ประเภทใหญๆ ไดแก 1) คําสรรพนาม
                2) นามวลีแปลง และ 3) ประโยคกรรมวาจก การปรากฏของคําสรรพนามทําให

                ทําเนียบภาษานั้นๆ มีความสนิทสนมกับผูฟงหรือผูอาน ในขณะที่การปรากฏของ
                นามวลีแปลงและประโยคกรรมวาจกทําใหทําเนียบภาษานั้นๆ มีลักษณะเวน
                ระยะหางจากผูฟงหรือผูอาน

                       1. คําสรรพนาม
                       ตัวบงชี้ประเภทแรกที่จะกลาวถึงในที่นี้คือคําสรรพนาม การใชคําสรรพนาม
                บุรุษที่ 1 เชน ผม, ดิฉัน, เรา เพื่อแทนตัวผูพูดหรือผูเขียน และการใชคําสรรพนาม
                บุรุษที่ 2 เชน คุณ, ทาน เพื่อแทนตัวผูฟงหรือผูอาน เปนลักษณะทางภาษาที่ทําให
                ทําเนียบภาษานั้นๆ มีลักษณะใกลชิดสนิทสนมกับผูฟงหรือผูอาน มากกวาทําเนียบ
                ภาษาที่ไมใช ผลการวิเคราะหพบวามีการปรากฏของคําสรรพนามใน 2 ทําเนียบ
                ภาษาเทานั้น คือภาษาการเมืองและภาษาสื่อ สวนในภาษากฎหมายและในภาษา
                วิชาการนั้น ผูวิจัยไมพบทั้งคําสรรพนามบุรุษที่ 1 และคําสรรพนามบุรุษที่ 2

                       ผลการวิเคราะหทําเนียบภาษาการเมืองพบวา มีการปรากฏของคําสรรพนาม
                บุรุษที่ 1 ทั้งหมด 4 คํา ไดแก ผม, ดิฉัน, เรา และ พวกเรา  โดยคําวา ผม และ ดิฉัน
                แทนตัวผูพูดซึ่งเปนนายกรัฐมนตรีผูกลาวคําแถลงการณตางๆ  คําวา เรา อาจใช
                แทนพรรคการเมืองหรือรัฐบาล เชนในประโยคตัวอยางที่ (5) – (6) หรือใชเพื่อหมาย
                รวมถึงทั้งผูพูดและผูฟงก็ได เชนในประโยคตัวอยางที่ (7) – (8) การใชคําวา เรา

                เพื่อแทนทั้งนักการเมืองซึ่งเปนผูพูดและแทนผูฟง ทําใหทําเนียบภาษาการเมืองมี
                ลักษณะสนิทสนมกับผูฟงมากขึ้น สวนคําวา พวกเรา ใชในกรณีเดียวคือใชแทน
                รัฐบาลซึ่งมีผูพูดเปนตัวแทน สําหรับคําสรรพนามบุรุษที่ 2 ซึ่งแทนตัวผูฟง พบ
                เพียงคําเดียว คือคําวา ทาน


                       1
                          ในบทความนี้ใชวา “การเวนระยะหางจากผูฟงหรือผูอาน” เพื่อใหครอบคลุม
                ขอมูลทุกทําเนียบภาษา
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23