Page 162 -
P. 162
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) 151
audio, video)ในลักษณะเสริมกันและกันอย่างกลมกลืน เพื่อสร้างเอกลักษณ์ และ
ความโดดเด่นให้กับกิจการขององค์กรให้สามารถปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ และพันธกิจ
ขององค์กรช่วยให้องค์กรสามารถปฏิบัติตามวิสัยทัศน์และพันธกิจขององกร ช่วย
ให้องค์กรด ารงอยู่อย่างภาคภูมิในวงการวิชาชีพ รับผิดชอบและช่วยเกื้อกูล
ประโยชน์แก่หน่วยงานต่างๆ ของสังคม (จันทนา ทองประยูร, 2552)
การสังเคราะห์ความรู้ในเรื่องบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการ
พัฒนา การประสานระบบคุณค่า จริยธรรม วัฒนธรรมกับเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนา
ที่ยั่งยืน รวมทั้งกรณีศึกษาบทบาทของสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการเปลี่ยน
แปลงทัศนคติโดยแนวคิดของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการ
พัฒนานั้น อยู่ที่ความเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีนี้จะสามารถแก้ปัญหาต่างๆของการ
พัฒนาได้ โดยชี้ให้เห็นว่าสาเหตุใหญ่ของการที่เทคโนโลยีก่อให้เกิดปัญหาในสังคม
คือ เทคโนโลยีไม่ได้ถูกออกแบบมาโดยค านึงถึงมิติทางจริยธรรมตั้งแต่ต้น ดังนั้น
การออกแบบให้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นปัจจัยให้ไปถึงเป้าหมาย
สูงสุดอันได้แก่ความสุขที่เกิดจากความสอดคล้องกันอย่างลงตัวระหว่างธรรมชาติ
กับวิถีชีวิตเกิดขึ้นได้จริง (สุนิตย์ เชรษฐา และคณะ, 2552)
การเปลี่ยนแปลงบริบททางเศรษฐกิจและสังคม การรวมตัวของกลุ่ม
เศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงในตลาดโลก ท าให้การเคลื่อนย้ายเงินทุน สินค้า
และบริการ รวมทั้งคนในระหว่างประเทศมีความคล่องตัวมากขึ้น ส่งผลให้ประเทศ
ไทยต้องด าเนินนโยบายการค้าในเชิงรุก ทั้งการหาตลาดเพิ่มและการผลักดันให้
ผู้ผลิตในประเทศปรับตัวให้สามารถแข่งขันได้บนฐานความรู้ มีการเปลี่ยนแปลง
ทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี
สารสนเทศ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีวัสดุ และนาโนเทคโนโลยี สร้างความ
เปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมทั้งในด้านโอกาสและภัยคุกคาม จึง
จ าเป็นต้องเตรียมพร้อมให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดังกล่าวใน
อนาคต โดยจะต้องมีการบริหารจัดการองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ ทั้งการพัฒนา
หรือสร้างองค์ความรู้ รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาผสมผสาน