Page 166 -
P. 166
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) 155
2. นักสื่อสารมวลชนอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีการปรับกระบวนการท างาน โดย
ต้องปรับเพิ่มความรู้และทักษะที่จ าเป็นส าหรับคนในสหัสสวรรษ 21 โดยเฉพาะ
คุณสมบัติของการเป็นพลโลก (Global Citizen) คือ ต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐาน
รวมทั้งเจตคติที่จ าเป็นต่อการประกอบอาชีพ โดยมุ่งเน้นว่าทุกคนสามารถเรียนรู้
และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อการพัฒนาตนเอง
ทักษะการบูรณาการทุกศาสตร์เพื่อให้สามารถท างานในเชิงบูรณาการสามารถ
พัฒนากระบวนการท างานด้วยการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
โดยเฉพาะเทคโนโลยีใหม่ๆที่เอื้อต่อการค้นหาข้อมูลหรือประเด็นที่น่าสนใจ ช่วย
ส่งเสริมและพัฒนาช่องทางใหม่ๆในการแพร่กระจายข่าวสาร
3. ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการปรับตัวของนักสื่อสารมวลชน
อิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปัจจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารส่งผลให้
รูปแบบการใช้ชีวิตของผู้บริโภคข่าวสารเปลี่ยนไป ท าให้การอ่านหนังสือพิมพ์ฉบับ
กระดาษลดน้อยลง ท าให้องค์กรสื่อสารมวลชนจ าเป็นต้องขยายรูปแบบการ
น าเสนอไปบนสื่ออื่น เช่น อินเทอร์เน็ต บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ สมาร์ทโฟน
เพื่อหารายได้และท าก าไรให้กับองค์กร เป็นลักษณะการปรับเปลี่ยนบริบททาง
นโยบายให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อม
ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ในด้านต้นทุนของกระดาษและค่าแรงงานที่เพิ่ม
สูงขึ้น เป็นแรงกดดันที่ท าให้สื่อต้องแสวงหารายได้จากช่องทางสื่อ Media Outlets
ใหม่ๆจากทรัพยากรข่าวที่มีอยู่ เพราะในอนาคตองค์กรสื่อจะพึ่งพารายได้จากสื่อ
สิ่งพิมพ์แบบดั้งเดิมอย่างหนังสือพิมพ์ได้น้อยลง
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบอีกปัจจัยหนึ่งคือ การมีส่วนร่วมของภาค
ประชาชน ในบทบาทของการเป็น นักข่าวพลเมือง (Citizen Journalism) ที่ประชาชน
ทั่วๆ ไปที่ไม่ได้ผ่านการฝึกฝนให้เป็นนักข่าวมืออาชีพ แต่สามารถใช้เครื่องมือ
อุปกรณ์เทคโนโลยีอันทันสมัย รวมถึงการใช้อินเทอร์เน็ตในการสร้างสรรค์ โต้แย้ง
หรือตรวจสอบข้อมูลของสื่อด้วยตัวเอง