Page 167 -
P. 167
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
156 วารสารมนุษยศาสตร์
4. ทักษะที่จ าเป็นต่อการปฏิบัติงานของนักสื่อสารมวลชนอิเล็กทรอนิกส์
พบว่า ทักษะที่จ าเป็นในด้านการจับประเด็นข่าว ยังคงมีความส าคัญ ส่วนทักษะใน
การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารก็จ าเป็นต้องก้าวตามให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของ
เทคโนโลยี ทักษะการเขียนข่าวจะไม่ใช่ลักษณะการเขียนข่าวแบบพีระมิดหัวกลับ
อย่างในหนังสือพิมพ์อีกต่อไป อาจต้องมีการปรับให้เข้ากับธรรมชาติของสื่อใหม่
ส่วนทักษะของการเป็นพลโลกที่ต้องมีทั้งความรู้ ความสามารถบนพื้นฐานที่
เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและทัศนคติเชิงบูรณาการเพื่อ
การอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลาย ทักษะของการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต นัก
จัดการความรู้ และประสานประโยชน์จากความรู้เพื่อการสร้างสรรค์สื่อที่ดีและมี
คุณภาพให้กับสังคม และทักษะการแสวงหาความรู้ที่เหมาะสมกับความเป็นสื่อ
สาธารณะ (Public Services Broadcasting) เพื่อให้สามารถท าหน้าที่ได้อย่าง
ครอบคลุม และสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์กับ
สังคมโดยรวม
5. มาตรฐานของการปฏิบัติงานของนักสื่อสารมวลชนอิเล็กทรอนิกส์ มี
ความจ าเป็นอย่างยิ่ง เพราะโดยภาพรวมแล้วในทุกสาขาวิชาชีพ โดยเฉพาะวิชาชีพ
ด้านสื่อสารมวลชนจ าเป็นต้องมีมาตรฐานวิชาชีพ อีกทั้งมาตรฐานในการ
ปฏิบัติงาน เพื่อเป็นกรอบในการท างานร่วมกัน เช่น กรอบมาตรฐานจรรยาบรรณ
วิชาชีพ ต้องมีการก าหนดมาตรฐานของวิชาชีพที่มีความชัดเจน สื่อสารมวลชน
ยังคงต้องท าหน้าที่ชี้น าสังคม ให้การเรียนรู้ได้ ผู้ที่ท าหน้าเป็นสื่อสารมวลชน
จ าเป็นต้องมีมาตรฐานในการปฏิบัติงาน
6. ปัจจัยที่ส่งเสริมการสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงานนักสื่อสารมวลชน
อิเล็กทรอนิกส์ คือ ปัจจัยด้านความจ าเป็นในการจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อการส่งเสริม
สนับสนุนและก ากับดูแลมาตรฐานวิชาชีพสื่อสารมวลชน โดยประกอบจากกลุ่ม
สหศาสตร์ และจากกลุ่มผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะกลุ่มวิชาชีพ กลุ่มวิชาการ
กลุ่มธุรกิจ กลุ่มนโยบายจากทุกระดับ เพื่อเน้นการท างานร่วมกันและครอบคลุมใน
ทุกมิติ การก าหนดกฎหมาย กฎระเบียบ กติกาที่ครอบคลุมจากทุกด้าน ส่วนปัจจัย