Page 51 -
P. 51

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                       ค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์


                       เมื่อพิจารณาจากข้อมูลในเบื้องต้น ส าหรับตลาด TOCOM (ดูภาพที่ 4.9) จะเห็นว่าสัญญาที่ครบ

               ก าหนดในเดือนใกล้ที่สุด (k = 1) และในสามเดือนข้างหน้า (k = 3) ค่าสัมประสิทธิ์ (  ) ของสมการเป็นลบ ซึ่ง

               ความสัมพันธ์ดังกล่าวตรงกันข้ามกับข้อก าหนดทางทฤษฎี เมื่อพิจารณาสัญญาที่ครบก าหนดใน 6 เดือน
               ข้างหน้า (k = 6) ถึงแม้ว่าค่าสัมประสิทธิ์ (  ) เป็นบวกแต่ขนาดของความสัมพันธ์หรือความชัน (Slope) น้อย

               กว่า 1 ค่อนข้างมาก


                       ส าหรับตลาด SICOM (ดูภาพที่ 4.10) พบว่าค่าสัมประสิทธิ์ (  ) เป็นบวก ซึ่งมีทิศทางความสัมพันธ์

               เป็นไปตามที่คาดหวังไว้และใกล้เคียงกับ 1 ของสัญญาที่ครบก าหนดใน 3 และ 6 เดือนข้างหน้า ยกเว้นสัญญา
               ที่ครบก าหนดใน 1 เดือนข้างหน้าที่มีค่าสัมประสิทธิ์ (  ) มากกว่า 1 ค่อนข้างมาก ส่วนตลาด SHFE (ดูภาพที่

               4.11) ถึงแม้ว่าความสัมพันธ์เบื้องต้นมีค่าสัมประสิทธิ์ (  ) เป็นบวก แต่ขนาดน่าจะต่ ากว่า 1 ค่อนข้างมาก ซึ่ง
               ค่าที่เข้าใกล้ 0 หมายความว่าราคาล่วงหน้าไม่น่าจะมีความสัมพันธ์กับราคาเงินสดในอนาคต



                       เมื่อทดสอบทางสถิติในตารางที่ 4.4 ซึ่งแสดงผลการประมาณค่าสัมประสิทธิ์ของสมการที่ (2) โดยการ
                                                                                                    10
               ประมาณค่าสัมประสิทธิ์จาก 3 วิธีคือ 1) Ordinary Least Square (OLS) 2) Robust Standard Error  เพื่อ
               ค านึงถึง Heteroscedasticity และ 3) GARCH (1,1) เพื่อค านึงถึง Serial Correlation โดยให้ความผันผวน

               ของค่าความคลาดเคลื่อน (Error Term) ไม่คงที่ โดยในตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคาเงินสดและราคา
               ล่วงหน้าอนาคตของสัญญาที่จะหมดอายุใกล้ที่สุด (k = 1) สัญญา 3 เดือนข้างหน้า (k = 3) และสัญญา 6 เดือน

               ข้างหน้า (k = 6) ของตลาดล่วงหน้าทั้งสามตลาดคือ TOCOM, SICOM, และ SHFE ตามล าดับ


                       จากตารางที่ 4.4 เมื่อพิจารณาราคาล่วงหน้าของสัญญาที่จะหมดอายุใกล้ที่สุด (k = 1) พบว่าการ

               ประมาณค่าสัมประสิทธิ์ทั้ง 3 วิธี ของทั้งทุกตลาด (TOCOM, SICOM, SHFE) ให้ผลที่ไม่ได้แตกต่างกัน
               (Robustness) แต่ส าหรับราคาล่วงหน้าของสัญญาที่จะหมดอายุ 3 เดือนข้างหน้า (k = 3) วิธีการประมาณ

               OLS และ Robust Standard Error สอดคล้องกันทั้งสามตลาด แต่ไม่สอดคล้องกับวิธี GARCH (1,1) ส าหรับ
               ตลาด TOCOM และ SICOM เช่นเดียวกันกับสัญญาที่จะหมดอายุ 6 เดือนล่วงหน้า (k = 6) วิธีการประมาณ

               OLS และ Robust Standard Error สอดคล้องกันทั้งสามตลาด แต่ไม่สอดคล้องกับวิธี GARCH (1,1) ส าหรับ

               ตลาด SICOM และ SHFE ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือ ราคายางล่วงหน้าของตลาด SHFE นั้นแทบจะไม่มี
               ความสัมพันธ์กับราคาเงินสดของไทยเลยในทุกอายุสัญญาเนื่องจากค่าสัมประสิทธิ์เกือบทุกตัวไม่มีนัยส าคัญทาง




               10  ดู ร า ย ล ะ เ อี ย ด จ า ก   Huber,  P.  J.  (1 9 6 7 ) .   “ The  Behavior  of  Maximum  Likelihood  Estimates  under  Nonstandard
               Conditions,”Proceedings of the Fifth Berkeley Symposium on Mathematical Statistics and Probability,vol. I, pp. 221–33. และ
               White, H. (1980). “A Heteroskedasticity-Consistent Covariance Matrix Estimator and a Direct Test for Heteroskedasticity,”
               Econometrica, 48, 817–38

                                                                                                        38
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56