Page 68 -
P. 68
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3) เช่นเดียวกับ Fe จะถูกรีดิวส์เมื่อ Eh < 100 mV เป็นต้น สภาพรีดักชันจะเริ่มต้นเมื่อ
2+
2+
ค่า Eh ต�่ากว่า -100 mV ความเข้มข้นของ Fe จะลดลงเมื่อค่า Eh เพิ่มขึ้นมีค่า 50-100 mV และเมื่อ
2+
Eh มีค่าสูงกว่านี้ Fe จะถูกออกซิไดส์ไปเป็น Fe เช่น เกอไทต์ (FeOOH) (Patrick and Jugsujinda,
3+
1992; Essington, 2003)
3
การเปลี่ยนแปลงพีเอชดิน
โดยธรรมชาติของดินนาเมื่อเกิดการขังน�้า พีเอชของดินกรดจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนมีค่าพีเอชคงที่
อยู่ระหว่าง 6.7-7.2 ดินด่าง พีเอชดินจะลดลง และส�าหรับดินที่เป็นกลาง พีเอชจะคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง
ซึ่งเป็นรูปแบบการเปลี่ยนแปลงพีเอชของดินน�้าขัง กลไกที่ท�าให้พีเอชดินน�้าขังมีการเปลี่ยนแปลง คือ
1) ดินกรดมีพีเอชสูงขึ้น เนื่องจากโดยทั่วไปดินกรดที่พีเอช 4.5-5.0 จะเพิ่มเป็น 6.0-7.0 เมื่อ
ขังน�้า เช่น พีเอชของดินกรดจะเพิ่มขึ้นจาก 4.7 เป็น 6.4 ภายใน 2 สัปดาห์ หลังการขังน�้าและค่อยๆ คงที่
ใกล้เป็นกลาง แต่ถ้าในดินมีปริมาณอินทรียวัตถุที่สลายตัวได้ง่ายเป็นปริมาณมาก เมื่ออินทรียวัตถุเกิดการ
ย่อยสลาย จะมีผลท�าให้การเปลี่ยนแปลงของพีเอช หรือการเพิ่มขึ้นของพีเอชในดินกรดช้าลง หรือหยุด
ชั่วคราว แต่หลังจากนั้นพีเอชดินจะเพิ่มขึ้นจนใกล้เป็นกลาง ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงพีเอชของดินอาจ
ใช้เวลาหลายสัปดาห์ ขึ้นอยู่กับชนิดดิน ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ประมาณจุลินทรีย์ อุณหภูมิ พีเอชดิน
เริ่มต้นก่อนการขังน�้า และสมบัติทางเคมีของดิน (Thenabadu, 1967, Ponnamperuma, 1972; Yu,
1991; Snyder, 2002; Sahrawat, 2005) อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของพีเอชดินผันกลับไปมาได้
ระหว่างต้นฤดูและปลายฤดูปลูกข้าว (Kirk, 2004)
8
Clay loam soil, 2.2% O.M., 0.63% Fe
7 Clay soil, 2.6% O.M., 0.96% Fe
pH 6 Clay oil, 2.9% O.M., 4.7% Fe
5
4
0 2 4 6 8 10 12 14 16
ภาพที่ 2.2 การเปลี่ยนแปลงพีเอชของดินกรด และดินด่างในสภาพน�้าขัง
ที่มา: ดัดแปลงจาก Ponnamperuma (1972)
64 ธรรมชาติของดินนา ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว