Page 6 -
P. 6
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ค�ำน�ำ
ประเทศไทยมีการปลูกข้าวมาช้านานและข้าวมีความส�าคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก
คนไทยมีความภาคภูมิใจในเรื่องข้าว เพราะประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตข้าวและอาหารหลายประเภท
ที่ส�าคัญแห่งหนึ่งของโลก จนได้รับการยกย่องว่า “ประเทศไทยเป็นครัวของโลก” ความภาคภูมิใจนี้
เป็นพลังขับเคลื่อนให้นักวิชาการด้านข้าวตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ด�าเนินการวิจัย พัฒนาเทคโนโลยี
และนวัตกรรม เพื่อท�าให้กระบวนการผลิตข้าวมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ปัจจุบันวิทยาการด้านธาตุอาหารของข้าว ซึ่งสัมพันธ์กับการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยนา มี
ความก้าวหน้ามากขึ้น และวงการวิชาการยอมรับว่า การจัดการด้านความอุดมสมบูรณ์ของดินนาและ
การใช้ปุ๋ยข้าว เป็นปัจจัยส�าคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยให้ระบบการผลิตข้าวมีประสิทธิภาพสูง และการใช้ปุ๋ย
ที่ถูกต้อง มีบทบาทประมาณ 40 % ในการเพิ่มผลผลิตข้าว
การใช้ปุ๋ยที่ถูกต้อง อาศัยความรู้พื้นฐาน 4 ด้าน คือ ความรู้เรื่องข้าว ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ย
ในลักษณะองค์รวมและมีความเชื่อมโยงกัน ไม่ควรกล่าวถึง 4 ด้านนี้แบบแยกส่วน เพราะการขาดความ
เข้าใจในส่วนใดส่วนหนึ่ง จะท�าให้การใช้ปุ๋ยไม่ประสบผลส�าเร็จ จึงเห็นสมควรน�าเสนอข้อมูลความรู้ใน
แนวทางดังกล่าวด้วยการเรียบเรียงหนังสือ “ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว” ส�าหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการ
พัฒนาระบบการผลิตข้าวและผู้สนใจโดยทั่วไป
เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ข้างต้น สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทยจึงมอบหมายให้นักวิชาการ
จ�านวน 7 คน เรียบเรียงหนังสือ “ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว” ซึ่งแบ่งโครงสร้างเป็น 4 ภาค คือ ภาคที่
1 สภาพแวดล้อมของข้าว ภาคที่ 2 สัณฐานวิทยาและการเจริญเติบโตของข้าว ภาคที่ 3 ความต้องการ
ธาตุอาหารของข้าว และ ภาคที่ 4 ปุ๋ยข้าว รวมทั้งสิ้น 16 บท ดังนี้
ภาคที่ 1 สภาพแวดล้อมของข้าว มี 4 บท ประกอบด้วย ประวัติการปลูกข้าวและข้าวกับ
สภาพแวดล้อม ธรรมชาติของดินนา การจ�าแนกดินที่ใช้ปลูกข้าว และดินที่เป็นปัญหาต่อการปลูกข้าวและ
แนวทางการแก้ไข เพื่อน�าเสนอภาพรวมของปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการท�านา
ภาคที่ 2 สัณฐานวิทยาและการเจริญเติบโตของข้าว มี 2 บท ประกอบด้วยสัณฐานวิทยา
ของข้าว ซึ่งเป็นความรู้ทางพฤกษศาสตร์ของราก ต้น ใบ ดอกและเมล็ด เพื่อเชื่อมโยงกับบทต่อไป คือ
การเจริญเติบโตของข้าว ซึ่งอธิบายเรื่องราวตั้งแต่การงอกของเมล็ดจนจึงการออกรวงและเมล็ดข้าวสุกแก่
โดยเชื่อมโยงสัณฐานวิทยาและการเจริญเติบโตของข้าวกับความต้องการธาตุอาหารและการใช้ปุ๋ย
ภาคที่ 3 ความต้องการธาตุอาหารของข้าว มี 7 บท ประกอบด้วย หลักการด้านธาตุอาหารพืช
ความต้องการธาตุอาหารทุกธาตุ คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ธาตุรอง (แคลเซียม แมกนีเซียม
และก�ามะถัน) จุลธาตุตอนที่หนึ่ง (สังกะสี เหล็กและแมงกานีส) จุลธาตุตอนที่สอง (ทองแดง โบรอน
โมลิบดีนัม คลอรีน นิกเกิล) ในบทสุดท้ายของภาคที่ 3 ได้เพิ่มธาตุเสริมประโยชน์ คือ ซิลิคอนไว้ด้วย