Page 262 -
P. 262
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1) ในกรณีการวัดประสิทธิภาพการผลิตพืช (agronomic efficiency, AE) ลดลง
หมายความว่าเมื่อเพิ่มอัตราปุ๋ยไนโตรเจน แม้จะท�าให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นตามล�าดับ แต่เมื่อน�าผลผลิตส่วนที่
เพิ่มขึ้นจากปุ๋ยมาหารด้วยอัตราปุ๋ย พบว่าผลผลิตที่เพิ่มต่อหน่วยธาตุอาหารในปุ๋ยที่ใช้ลดลงไปเรื่อยๆ จาก
ที่ได้เมล็ดข้าวเพิ่มขึ้น 35 กิโลกรัมต่อกิโลกรัม N ในปุ๋ย เมื่อใช้ปุ๋ยอัตรา 4.8 กิโลกรัม N/ไร่ เหลือ
น�้าหนักเมล็ดข้าวเพิ่มขึ้นเพียง 13 กิโลกรัมต่อกิโลกรัม N ในปุ๋ย เมื่อใช้ปุ๋ยอัตรา 33.6 กิโลกรัม N/ไร่
แสดงว่าธาตุอาหารในปุ๋ยหน่วยที่เพิ่มต่อๆ มามีประสิทธิภาพในการสร้างผลผลิตเมล็ดข้าวน้อยลง
2) ส�าหรับประสิทธิภาพการดูดไนโตรเจน (N recovery efficiency) ของข้าว หมาย
ถึงไนโตรเจนทั้งหมดที่สะสมในส่วนเหนือดิน อันได้แก่ ล�าต้น ใบและเมล็ด (grain-straw) ต่อหน่วยของ
ไนโตรเจนในปุ๋ยที่ใส่ มีค่าอยู่ระหว่าง 30-40 %
ประสิทธิภาพการดูดธาตุอาหาร (ARE) ลดลง หมายความว่า เมื่อเพิ่มอัตราปุ๋ย
ไนโตรเจน แม้จะท�าให้ข้าวดูดสะสมไนโตรเจนเพิ่มขึ้นตามล�าดับ แต่เมื่อน�าปริมาณการดูดสะสมส่วนที่
เพิ่มขึ้นจากปุ๋ยมาหารด้วยอัตราปุ๋ย พบว่า สัดส่วนของไนโตรเจนในปุ๋ยที่รากข้าวดูดมาใช้ได้จริงๆ ลดลง
ไปเรื่อยๆ จากที่ดูดจากปุ๋ยมาได้ 50 % เมื่อใช้ปุ๋ยอัตรา 9.6 กิโลกรัม N/ไร่ เหลือเพียง 32 % เมื่อใช้ปุ๋ย
อัตรา 33.6 กิโลกรัม N/ไร่ แสดงว่าเมื่อเพิ่มอัตราปุ๋ย สัดส่วนของไนโตรเจนที่สูญหายมีมากขึ้น โดยการ
เปลี่ยนสภาพเป็นแก๊สแอมโมเนียแล้วระเหยออกไปจากดิน
10.2.2 พันธุ์ข้าว
ข้าวแต่ละพันธุ์มีความแตกต่างด้านประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจน ผลการเปรียบเทียบ
ระหว่างข้าวนาน�้าขัง 5 พันธุ์พบว่ามีความแตกต่างกัน โดยมีค่าสูงสุดและต�่าสุด ดังนี้ ประสิทธิภาพการ
ผลิตพืช (agronomic efficiency, AE) ต่างกัน คือ ได้น�้าหนักเมล็ดข้าวเพิ่มขึ้น 17 และ 23 กิโลกรัมต่อ
กิโลกรัม N ในปุ๋ย ประสิทธิภาพการดูดธาตุอาหาร (ARE) ต่างกัน คือ ดูดจากปุ๋ยมาได้ 23 และ 37 %
จากการศึกษาประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนในข้าวนาน�้าขัง 5 พันธุ์ ได้ค่าพิสัยดังนี้
1) ประสิทธิภาพการผลิตพืช (AE) 16-21 กก./กก. 2) ประสิทธิภาพเชิงสรีระ (PE) 114-222 กก./กก. 3)
ประสิทธิภาพเชิงเกษตร-สรีระ (APE) 56-123 กก./กก.
ความแตกต่างระหว่างพันธุ์ ในด้านประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนส่วนใหญ่เกี่ยวข้อง
กับลักษณะของข้าว 2 ประการ คือ
(1) ระบบรากของข้าว กล่าวคือข้าวพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนสูง มีราก
แขนงมาก และแต่ละรากมีความหนาแน่นของขนรากมากด้วย ท�าให้มีพื้นที่ผิวในการดูดไนโตรเจนจากดิน
มาก นอกจากนี้ยังต้องมีโปรตีนขนส่งประสิทธิภาพสูงส�าหรับดูดไนโตรเจนรูปที่เป็นประโยชน์จากดินด้วย
(2) เมแทบอลิซึมที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพสูง สามารถใช้ประโยชน์ไนโตรเจนที่ราก
ดูดได้ ไปเพื่อการเจริญเติบโต โดยแต่ละหน่วยของไนโตรเจนที่รากดูดได้แล้วสามารถก่อให้เกิดปริมาณ
มวลชีวภาพสูง หรือเป็นข้าวที่มีประสิทธิภาพเชิงเกษตร-สรีระ ( APE) สูงนั่นเอง
258 ไนโตรเจนของข้าว ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว