Page 258 -
P. 258
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การสร้างน�้าหนักแห้งของซัง 1,527.2 กิโลกรัมต่อไร่ และเมล็ด 1,046 กิโลกรัมต่อไร่ ส�าหรับการผลิตเมล็ด
1 ตัน ต้องมีการดูดสะสมไนโตรเจนทั้งในซังและเมล็ดรวม 22 กิโลกรัมไนโตรเจน
8
ความเข้มข้นระดับเพียงพอ
ของไนโตรเจนในข้าว
ผลการประเมินความเข้มข้นของไนโตรเจนในข้าวที่ถือว่าเพียงพอและเป็นระดับวิกฤติ ดังข้อมูล
ในตารางที่ 8.3 มีข้อสังเกต 2 ประการ คือ
1) ในแต่ละระยะการเติบโตนั้นใช้เนื้อเยื่อดัชนี ซึ่งมีความเหมาะสมส�าหรับการวิเคราะห์ต่างกัน
และ
2) ค่าความเข้มข้นของไนโตรเจนในข้าวที่ถือว่าเพียงพอและเป็นระดับวิกฤติ ส�าหรับแต่ละระยะ
การเติบโตจะต่างกัน ในระยะสุกแก่ ไนโตรเจนส่วนมากได้เคลื่อนย้ายจากส�าต้นและใบไปสะสมที่รวง
ท�าให้ความเข้มข้นของไนโตรเจนในฟางข้าวต�่าลงมาก
ตารางที่ 8.3 ความเข้มข้นของไนโตรเจนในข้าวที่ถือว่าเพียงพอและเป็นระดับวิกฤติ
ระยะการเติบโต ส่วนของข้าว เพียงพอ (%) ระดับวิกฤติ (%)
ระยะแตกกอ-IPP แผ่นใบ Y 2.9-4.2 2.5
ระยะออกดอก ใบธง 2.2-3.0 2.0
สุกแก่ ฟางข้าว 0.6-0.8 -
ที่มา: Reuter et al. (1997); Fageria et al. (2003)
ระดับความเพียงพอและระดับวิกฤติของไนโตรเจนในข้าว 3 ระยะ คือ ระยะแตกกอ-IPP, ระยะ
ออกดอก และระยะสุกแก่ แสดงไว้ในตารางที่ 8.3 ในการประเมินนอกจากจะค�านึงถึงความเข้มข้นของ
ไนโตรเจนแล้ว ยังต้องพิจารณาอัตราส่วนระหว่างไนโตรเจนและก�ามะถัน (N/S ratio) ด้วย กล่าวคือ
ค่าอัตราส่วนระหว่างไนโตรเจนและก�ามะถันควรมากกว่า 10 โดยความเข้มข้นของไนโตรเจนต้องสูงกว่า
1.6 %N และก�ามะถันสูงกว่า 0.15 %S (Cambel, 2000)
ส�าหรับการสะสมธาตุหลักของข้าวในตารางที่ 8.4 มี 2 แบบ คือ แบบที่ 1 การสะสมในส่วน
เหนือดิน (เมล็ด+ฟาง) เฉพาะเมล็ดและเฉพาะฟาง ใช้หน่วยกิโลกรัม ธาตุ/ตันของผลผลิตเมล็ด และแบบ
254 ไนโตรเจนของข้าว ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว