Page 253 -
P. 253
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ใบแก่เหลืองซีด ใบสั้นและแคบ อาการเหลืองเริ่มปรากฏที่ปลายใบแก่แล้วลุกลามไปตามแนวเส้นกลางใบ
จนเหลืองทั้งใบ และใบนั้นแห้งตายในที่สุด
ข้าวที่ขาดไนโตรเจนจะโตช้าลง ใบเล็ก ความสูงและการแตกกอน้อย ขณะเดียวกันก็เริ่มมีอาการ
เหลืองซีดทั้งแผ่นใบ ปลายใบแก่มีสีเหลืองเข้มแล้วลุกลามมาที่กลางใบ ต่อจากนั้นปลายใบและขอบใบจะ
แห้ง ในที่สุดจะแห้งตายทั้งแผ่นใบ (Dobermann and Fairhurst, 2000; Fairhurst et al., 2007)
อาการเหลืองที่ใบแก่ของข้าวเกิดขึ้นเนื่องจากปริมาณคลอโรฟิลล์ลดลง เพราะการสลายตัวของ
โมเลกุลคลอโรฟิลล์ในใบแก่มีมากกว่าการสังเคราะห์ใหม่มาชดเชย ดังนี้
(1) เมื่อรากข้าวดูดไนโตรเจนจากดินได้น้อยลง ไนโตรเจนที่ล�าเลียงทางไซเล็มและกระจายไป
ยังส่วนเหนือดินของข้าวก็น้อยกว่าปรกติ ท�าให้เกิดสภาพขาดไนโตรเจนทุกใบของส่วนเหนือดิน แต่ระบบ
ของพืชในการจัดสัดส่วนของไนโตรเจน คือ ให้ใบอ่อนได้รับไนโตรเจนเพียงพอเพื่อด�ารงสภาพปรกติไว้
จึงมีการสลายตัวของโปรตีนและคลอโรฟิลล์บางส่วนในใบแก่ ให้เป็นสารประกอบโมเลกุลเล็ก แล้วเคลื่อน
ย้ายไปยังใบอ่อน ท�าให้ใบอ่อนมีไนโตรเจนเพียงพอที่จะคงสภาพปรกติอยู่ได้
(2) ในใบแก่ปรกติมีคลอโรฟิลล์ (ซึ่งตามองเห็นเป็นสีเขียว) มากพอ สีเขียวจะบดบังสารสีอื่น
ที่มีสีอ่อนกว่า เช่น สีเหลืองของแคโรทีนและซานโทฟิลล์ แต่เมื่อใบแก่ได้รับไนโตรเจนจากรากน้อย
จึงสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ได้น้อย ต�่ากว่าอัตราการสลายตัว จึงท�าให้ความเข้มข้นของคลอโรฟิลล์ลดลง
สีเหลืองจึงเด่นขึ้นมา มองเห็นใบมีสีเหลือง ความรุนแรงของอาการขาดไนโตรเจนจะสัมพันธ์กับความ
เข้มของสีเขียวที่ลดลง และสีเหลืองที่เพิ่มขึ้น สถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ (International Rice
Research Institute, IRRI) จึงพัฒนาแผ่นเทียบสีใบ (leaf color chart) ขึ้นมาช่วยในการประเมิน
ระดับการขาดไนโตรเจน เพื่อตัดสินใจในการก�าหนดเวลาและอัตราการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนส�าหรับข้าว
เมื่อข้าวแสดงอาการขาดไนโตรเจนใหม่ๆ การฉีดพ่นด้วยสารละลายปุ๋ยยูเรีย 1 % ก็ช่วยบรรเทา
อาการขาดไนโตรเจนได้ระดับหนึ่ง (ยงยุทธ 2557)
6
รูปของไนโตรเจนที่รากข้าวดูด
ผลการทดลองในสารละลายธาตุอาหารแสดงว่ารากข้าวดูดไนโตรเจนได้ทั้ง 3 รูป คือ แอมโมเนียม
ยูเรียและไนเทรต เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วรากข้าวดูดแอมโมเนียมไออนได้เร็วกว่าไนเทรตไอออน 5-20 เท่า
อย่างไรก็ตาม ในดินนาน�้าขังมีไนเทรตไอออนน้อย ไนโตรเจนรูปไนเทรตจึงไม่มีบทบาทส�าคัญส�าหรับข้าว
นาน�้าขัง ข้อมูลทางวิชาการเรื่องการดูดแอมโมเนียมและไนเทรตไอออนของข้าวจากสารละลายธาตุอาหาร
มิได้มีข้อสรุปไปในทางเดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันดังนี้ (Kirk, 2004)
ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว ไนโตรเจนของข้าว 249